วิชาตัฟซีรอัลกุรอานซูเราะฮ์อัลบะลัด

หมวดหมู่ :

·

·

วิชาตัฟซีรอัลกุรอานซูเราะฮ์อัลบะลัด
อ.อามิร โยธาสมุทร

﴾ِ لَآ أُقۡسِمُ بِهَٰذَا ٱلۡبَلَد﴿
1. (อัลเลาะห์)สาบานด้วยเมืองนี้(มักกะฮ์)

            อธิบาย: เป็นสิทธิของอัลลอฮผู้เดียวที่จะสาบานด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างใดๆก็ได้ตามที่ทรงประสงค์ซึ่งทรงชี้ถึงความสำคัญและให้เราพิจารณาสิ่งนั้นๆ แต่ในทางกลับกันผู้ถูกสร้างเช่นเราไม่มีสิทธิ์ในการสาบานอื่นใดเว้นแต่ต่ออัลเลาะห์เท่านั้นซูเราะนี้เริ่มโดยการสาบานด้วยกับเมืองมักกะเนื่องด้วยมีสถานะความสำคัญณที่อัลเลาะห์และมวลมนุษย์มักกะมีชื่ออื่นอีกเช่น بكة –البلد- البلدة- أم القرى ส่วนคำว่า لا นั้นให้ความหมายเน้นคำ


﴾ وَأَنتَ حِلُّۢ بِهَٰذَا ٱلۡبَلَدِ ﴿
2. โดยที่เจ้าได้รับการอนุมัติพิเศษต่อเมืองนี้

         อธิบาย: เป็นที่อนุมัติแก่ท่านนบีเป็นการเฉพาะในการรบพิชิตมักกะในช่วงเวลาหนึ่งของวันหนึ่งซึ่งปกติแล้วมักกะเป็นเขตหวงห้ามห้ามสู้รบถ้าฟันและดังกล่าวนับเป็นการแจ้งข่าวดีต่อท่านนบีว่าจะได้พิชิตมักกะเพราะซูเราะนี้เป็นมักกียะฮ์ถูกประทานก่อนการอพยพสู่มะดีนะฮ์และก่อนการพิชิตมักกะ  ท่านนบีกล่าวว่า: แท้จริงเมืองนี้(มักกะ)อัลเลาะห์ทรงทำให้เป็นที่ต้องห้ามตั้งแต่วันที่ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินจึงเป็นที่ต้องห้ามด้วยข้อห้ามของอัลเลาะห์จนวันกิยามะห์และไม่อนุญาตให้ผู้ใดสู้รบก่อนหน้าฉัน มาก่อนเลยและไม่เป็นที่อนุมัติแก่ฉันนอกจากช่วงหนึ่งของเวลากลางวันฉะนั้นจึงเป็นที่ต้องห้ามด้วยข้อหวงห้ามของอัลเลาะห์จนวันกิยามะห์แม้แต่ต้นไม้มีหนามก็ไม่ถูกตัด   สัตว์ล่าจะไม่ถูกล่า ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่เว้นแต่จะเอามาประกาศหาเจ้าของและต้นไม้เล็กใหญ่จะไม่ถูกตัด  -และมีความหมายอีกว่าและเจ้านั้นเป็นผู้ที่อยู่ที่เมืองนี้คือให้ความสำคัญต่อเมืองนี้เพราะเป็นเมืองที่นบีใช้ชีวิตอยู่ที่เป็นเมืองที่มีความประเสริฐมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ท่านร่อซูลอยู่ในเมืองนั้น -หรือหมายความว่าเมืองนี้เป็นที่ต้องห้ามแล้ว พวกเขาผู้ตั้งภาคีทั้งหลายยังกระทำการเข่นฆ่าขับไล่เจ้าเช่นนี้อีก

ท่านนบีกล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลเลาะห์เจ้านั้นเป็นแผ่นดินของอัลลอฮที่ดีที่สุดและเป็นที่รักยิ่ง ณ ที่อัลเลาะห์และหากชั้นไม่ถูกขับไล่ออกมาแล้วแล้วก็ฉันจะไม่ออกไปเป็นแน่


﴾ وَوَالِدٖ وَمَا وَلَدَ ﴿
3. และสาบานด้วยกับผู้เป็นพ่อและสิ่งที่เกิดมา

             อธิบาย: หมายถึงบิดาแห่งมนุษย์ชาติคือท่านนบีอาดัมและลูกหลานที่สืบมาจากท่าน

– หรือหมายถึงนบีอิบรอฮีมเพราะบรรดานบีมาจากเชื้อสายของท่าน

-หรือหมายถึงนบีอิบรอฮีมเพราะอัลเลาะห์ได้ให้บรรดานบีนั้นมาจากลูกหลานสายท่าน

-หรือหมายถึงทุกคนที่เป็นพ่อลูกกัน

-หรือหมายถึงคนที่มีลูกและคนที่เป็นหมันไม่มีลูก


 لَقَدۡ خَلَقۡنَا ٱلۡإِنسَٰنَ فِي كَبَدٍ ﴿
4. แน่แท้เราได้สร้างมนุษย์มาเผชิญความยากลำบาก

         อธิบาย: อายะนี้คือประเด็น ของการสาบานว่าอัลเลาะห์นั้นได้สร้างมนุษย์มาเผชิญความลำบากทั้งในดุนยาในโลกหลังความตายและในวันกิยามะ มนุษย์จึงสมควรยังยิ่งที่จะต้องหาวิธีที่จะพ้นจากความลำบากทุกข์ยากเช่นนั้นสู่ความสุขที่ถาวรหากไม่ทำเช่นนั้นเขาก็จะเผชิญกับการลงโทษอันหนักหน่วงไปตลอดกาล -หรือหมายถึงอัลเลาะห์ทรงสร้างมนุษย์มาในรูปร่างที่เหมาะสมสมส่วนลำตัวตั้งตรง ไม่เหมือนกับสัตว์ชนิดใดๆ – หรือหมายถึงทารกขณะอยู่ในครรภ์มารดา ศีรษะอยู่ด้านบนเมื่อถึงเวลาใกล้คลอดศีรษะก็หมุนลงมาด้านล่าง


 أَيَحۡسَبُ أَن لَّن يَقۡدِرَ عَلَيۡهِ أَحَدٞ ﴿
5. เขาคิดหรือว่าไม่มีใครทำอะไรเขาได้

อธิบาย: มนุษย์คิดหรือว่าเมื่อเขาทำความผิดฝ่าฝืนแล้วจะไม่มีใครทำอะไรเขาได้เลยหรือ จะไม่สามารถทำโทษเขาได้เลยหรือแม้แต่พระเจ้าผู้สร้างเขากระนั้นหรือ


﴾  يَقُولُ أَهۡلَكۡتُ مَالٗا لُّبَدًا ﴿
6. เขากล่าวว่าฉันได้ผลาญทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมากแล้ว

         อธิบาย: มีการอธิบายว่าคืออิบนุ กิลดะฮ์ หรือ อัลวะลีด อิบนุมุฆีเราะฮ์ ศัตรูอิสลามได้กล่าวว่าฉันได้ทุ่มเงินมากในการเป็นศัตรูกับนบีมุฮัมมัด การที่อัลเลาะห์เรียกการใช้ทรัพย์สินในทางฝ่าฝืนและตามอารมณ์ใฝ่ต่ำนั้นว่าผลาญเพราะมันไม่ยังประโยชน์ใดๆเลยแก่เขานอกจากความเสียใจภายหลังและความขาดทุนลำเค็ญเท่านั้นซึ่งไม่เหมือนกับผู้ที่ใช้จ่ายไปในความพอพระทัยของอัลเลาะห์นั่นคือผู้ทำการค้ากับอัลเลาะห์ได้กำไรมากมายหลายเท่ากว่าสิ่งที่เขาใช้จ่ายไป


 أَيَحۡسَبُ أَن لَّمۡ يَرَهُۥٓ أَحَدٌ﴿
7. เขาคิดหรือว่าไม่มีใครเห็นเขา 

         อธิบาย: เขาคิดหรือว่าไม่มีใครเห็นเขาในการกระทำของเขาไม่มีการสอบสวนไม่ว่าจะความผิดเล็กน้อยใหญ่โตใดๆเลยหรือ แต่อัลเลาะห์ทรงเห็นเขาและได้มอบหน้าที่แก่มาลาอิกะฮ์จดบันทึกทุกสิ่งที่มนุษย์ทำไม่ว่าจะความดีหรือความชั่ว


أَلَمۡ نَجۡعَل لَّهُۥ عَيۡنَيۡنِ﴿
8. เราไม่ได้ทำให้เขามีดวงตาทั้ง 2 กระนั้นหรือ


وَلِسَانٗا وَشَفَتَيۡنِ ﴿
9. ตลอดจนลิ้นและริมฝีปากทั้งสอง

         อธิบายอายะฮ์ 8-9: อัลเลาะห์ทรงบอกมนุษย์ให้ยอมรับถึงความกรุณาของพระองค์ที่ให้เขาในดุนยานี้โดยมีดวงตาทั้งสองลิ้นและริมฝีปากทั้งสองซึ่งมีประโยชน์มากมาย


وَهَدَيۡنَٰهُ ٱلنَّجۡدَيۡنِ ﴿
10. และเราได้แนะทาง 2 ทางแก่เขา (ดีและชั่ว)

         อธิบาย: แล้วพระองค์ทรงบอกถึงความโปรดปรานของพระองค์รายการชี้แนะสู้ศาสนาอันถูกต้องโดยได้แนะทั้งทางสู่ความดีและความชั่วชี้แจงความถูกต้องจากความหลงผิดโดยไม่มีข้อเคลือบแคลงใดๆดังกล่าวนับเป็นความกรุณาอันล้นพ้นซึ่งเปล่าจะต้องรู้คุณต่อความกรุณาของพระองค์และไม่ใช้ไปในการฝ่าฝืนพระองค์ -หรือมีความหมายว่าพระองค์ทรงโปรดชี้แนะให้ทารกที่เพิ่งเกิดมานั้นพยายามเข้าหาอ้อมอกของมารดาเพื่อดื่มกิน


فَلَا ٱقۡتَحَمَ ٱلۡعَقَبَةَ ﴿
11. แล้วเขาจะยังไม่พยายามฝ่าฟันข้ามทางยากลำบากอีก

         อธิบาย: ครั้งที่อัลเลาะห์ทรงให้ความโปรดปรานมากมายแล้วเขาก็ยังไม่พยายามฝ่าฟันความลำบากของอาคีเราะห์อีกเล่าโดยการบริจาคทรัพย์สินใช้จ่ายในทางที่ถูกต้องเพื่อที่ เขาจะได้ปลอดภัยซึ่งดีกว่าที่เขาจะใช้ทรัพย์สินในการเป็นศัตรูกับท่านนบีมุฮัมมัดอย่างแน่นอน

– เช่นเดียวกันคำนี้ให้ความหมายว่าการบากบั่นขึ้นทางชันของภูเขาซึ่งปกติการขึ้นที่สูงนั้นเหนื่อยกว่าการลงด้านล่าง การเพียรพยายามสู่หนทางสวรรค์อันสูงส่งนั้นต้องอดทนต่อการทำดีต่ออุปสรรคความยากลำบากและสิ่งยั่วยุต่างๆแต่หนทางสู่นรกนั้นง่ายดายเพียงแค่ตามอารมณ์และความชั่วร้ายทั้งหลายท่านรอซูล  กล่าวว่า สวรรค์นั้นถูกห้อมล้อมด้วยสิ่งที่ยากเข็ญ และนรกนั้นถูกห้อมล้อมด้วยสิ่งยั่วยุให้ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิม


وَمَآ أَدۡرَىٰكَ مَا ٱلۡعَقَبَةُ ﴿
12. แล้วอะไรเล่าทำให้เจ้ารู้ว่าหนทางยากลำบากนั้นคืออะไร


فَكُّ رَقَبَةٍ ﴿
13. คือการปล่อยทาส


 أَوۡ إِطۡعَٰمٞ فِي يَوۡمٖ ذِي مَسۡغَبَةٖ﴿
14. หรือการให้อาหารในวันที่มีความหิวโหยขาดแคลน


يَتِيمٗا ذَا مَقۡرَبَةٍ ﴿
15. แก่เด็กกำพร้าที่เป็นญาติ


أَوۡ مِسۡكِينٗا ذَا مَتۡرَبَةٖ ﴿
16. หรือคนยากไร้คลุกฝุ่น

         อธิบายอายะฮ์ 12-16 :ได้ถามย้ำถึงการข้ามหนทางลำบากนั้นเพื่อให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ ให้พยายามบากบั่นทำการงานที่ดีต่างๆเหล่านี้เพื่อจะได้ผ่านพ้นความยากลำบากใน อาคีเราะห์ นำพาสู่การได้เข้าสวรรค์

แล้วพระองค์ได้ทรงอธิบายว่าคือการปล่อยทาสผู้ศรัทธาไม่ว่าจะชายหรือหญิงให้เป็นอิสระหรือช่วยเหลือถ้าที่พยายามผ่อนไถ่ตนเองรวมถึงการถ่ายตัวเชลยศึกมุสลิมจากฝ่ายศัตรู

(อีกความหมายหนึ่งคือการไถ่ตนจากบาปต่างๆด้วยการเตาบะฮ์กลับเนื้อกลับตัวขออภัยโทษต่ออัลเลาะห์)

หรือด้วยการให้อาหารในช่วงวิกฤตขาดแคลน การบริจาคแก่ผู้ยากไร้หิวโหยยิ่งในช่วงที่แห้งแล้งข้าวของขาดแคลนข้าวยากหมากแพงนับเป็นการบริจาคที่ดีเลิศเพราะเกิดประโยชน์ชัดเจนและต้องมีใจเสียสละยิ่งในเวลาที่คนต่างมีความขาดแคลนกันถ้วนหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้แก่เด็กกำพร้ายะตีมยากจนและเป็นญาติซึ่งรวมซึ่งภาคผลทั้งการบริจาคและสัมพันธ์เครือญาติแล้วค่อยกำพร้ายาตีมที่ไม่ใช่ญาติ (ยาตีมคือเด็กยังไม่บรรลุศาสนภาวะที่บิดาเสียชีวิต ท่านนบี กล่าวว่า หลังจากฝันบรรลุศาสนภาวะไม่ถือเป็นยาตีมแล้ว ท่านนบีส่งเสริมการอุปการะกำพร้าเด็กยาตีมว่า ฉันและผู้อุปการะเด็กกำพร้ายาตีมจะอยู่ในสวรรค์อย่างเช่นนี้แล้วท่านชี้นิ้วชี้และนิ้วกลางและแยกออก(คือใกล้ชิดกันมากนั่นเอง)

หรือให้แก่ผู้ยากไร้ที่แทบไม่มีอะไรเลยเรื่องดังกล่าวทั้งหมดนั้นคือหนทางฝ่าฟันข้ามทางยากลำบากนั่นเอง


 ثُمَّ كَانَ مِنَ ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلصَّبۡرِ وَتَوَاصَوۡاْ بِٱلۡمَرۡحَمَةِ﴿ 
17. แล้วเขาอยู่ในหมู่ผู้มีอีมานและทำความดี และต่างกำชับกันในเรื่องการอดทนและต่างกำชับกันในเรื่องมีเมตตา

อธิบายอายะฮ์ : แล้วเขาผู้ที่ทำความดีต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นในขณะเดียวกันเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ใจในการอีมานขออัลเลาะห์และต่างกำชับสั่งเสียกันให้อดทนต่อการเชื่อฟังพระองค์ อดทนต่อการไม่ฝ่าฝืนพระองค์ ต่อก่อดัรกำหนดที่มาประสบและกำชับใช้กันให้มีความเมตตาต่อผู้อื่น

อายะนี้เป็นการบอกให้รู้ว่าคุณความดีนั้นจะได้ผลควบคู่กับการอีมานและการอีมานประกอบด้วยการเชื่อด้วยหัวใจพร้อมทั้งยืนยันด้วยการกระทำและคำพูดนั่นเอง และ อีมานนั้นมีเพิ่มมีลด เพิ่มโดยการกระทำเชื่อฟังต่ออัลเลาะห์ ลดโดยการฝ่าฝืนข้อห้ามของพระองค์ และเป็นการบอกให้รู้ว่าต้องคอยตักเตือนซึ่งกันมิใช่รู้คนเดียวทำดีคนเดียวไม่บอกกล่าวสอนหรือทักท้วงผู้อื่น ต้องเชิญชวนสู่การเตาฮีด สู่แนวทางซุนนะฮ์  ตักเตือนหักห้ามเรื่องชิริกภาคีและอุตริบิดอะฮ์


  أُوْلَٰٓئِكَ أَصۡحَٰبُ ٱلۡمَيۡمَنَةِ ﴿
18. คนดังกล่าวคือกลุ่มชนด้านขวา( ในวันกิยามะ)

         อธิบายอายะฮ์ : ในวันกิยามะห์มนุษย์จะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1 กลุ่มชนผู้รุดหน้าเป็นชาวสวรรค์2กลุ่มชนด้านขวาเป็นชาวสวรรค์ 3 กลุ่มชนด้านซ้ายเป็นชาวนรก ดังปรากฏในซูเราะห์อัลวากิอะห์

-และมีความหมายอีกว่าคือบรรดาผู้ที่ได้รับบันทึกการงานในวันกิยามะห์ด้วยมือขวา

-และมีความหมายอีกว่าผู้ที่ได้รับการพาเข้าสวรรค์จากทางด้านขวา


 وَٱلَّذِينَ كَفَرُواْ بِ‍َٔايَٰتِنَا هُمۡ أَصۡحَٰبُ ٱلۡمَشۡ‍َٔمَةِ﴿
19. และพวกที่ปฏิเสธต่ออายะต่างๆ( สัญญาณ)ของเราชนเหล่านั้นแหละคือกลุ่มชนด้านซ้าย

         อธิบายอายะฮ์ : พวกที่ปฏิเสธอัลกุรอานที่ถูกหลักฐานแก่นบีมูฮัมหมัดนั้นพวกเขาคือกลุ่มชนด้านซ้ายเป็นชาวนรก -หรือคือบรรดาผู้รับบันทึกการงานในวันกียามะด้วยมือซ้าย

-หรือคือบรรดาผู้ถูกนำเข้านรกจากทางด้านซ้าย

อนึ่ง..พวกปฏิเสธอัลกุรอานนั้นรวมถึงพวกบิดเบือนความหมายอัลกุรอานอีกด้วย


 عَلَيۡهِمۡ نَارٞ مُّؤۡصَدَةُۢ ﴿ 
20. ไฟนรกถูกปิดผนึกเหนือพวกเขา

         อธิบายอายะฮ์ : ในวันกิยามะนรกจะถูกปิดผนึกเหนือพวกเขาและถูกทำโทษอยู่ในนั้น นักรบถูกปิดประตูกระทั่งความสุขสบายใดๆไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปและความทุกข์ไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้เลย ดังกล่าวนั้นสำหรับพวกปฏิเสธศรัทธาจะอยู่ในนั้นตลอดกาลไม่สามารถออกจากนรกได้เลยแต่สำหรับผู้ศรัทธาแต่ได้ความชั่วฝ่าฝืนนั้นขึ้นอยู่กับประสงค์ของอัลเลาะห์ส่งอภัยให้เลยก็ได้หรือจะลงโทษในนรกแต่ไม่ตลอดกาลเขาจะได้รับการนำออกมาจากนรกและให้เข้าสวรรค์ด้วยอนุมัติของพระองค์



อ่านบทความอื่นๆ

ดูตามหมวดหมู่

ดูตามคำค้น

รอมฏอน ละหมาด