อะฮ์วาลชัคซียะฮ์ | อ.มุบาร็อก  แดงโกเมน

หมวดหมู่ : , ,

·

·

ซีรีย์บรรยายอะฮ์วาลชัคซียะฮ์ 14 ตอน

เนื้อหาในบรรยาย

ตอนที่ 1 เรื่อง การหมั้นหมาย (الخِطبة)

  • การหมั้น คือการที่ฝ่ายชายแสดงเจตจำนงค์ว่าจะทำการสมรสกับฝ่ายหญิงในอนาคต โดยแจ้งให้ผู้ปกครองของฝ่ายหญิงทราบ
  • หลักฐานจากอัลกุรอาน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะ อายะฮ์ที่ 235 ว่า

وَلَا جُنَاحَ عَلَيۡكُمۡ فِيمَا عَرَّضۡتُم بِهِۦ مِنۡ خِطۡبَةِ ٱلنِّسَآءِ أَوۡ أَكۡنَنتُمۡ فِيٓ أَنفُسِكُمۡۚ عَلِمَ ٱللَّهُ أَنَّكُمۡ سَتَذۡكُرُونَهُنَّ وَلَٰكِن لَّا تُوَاعِدُوهُنَّ سِرًّا إِلَّآ أَن تَقُولُواْ قَوۡلٗا مَّعۡرُوفٗاۚ وَلَا تَعۡزِمُواْ عُقۡدَةَ ٱلنِّكَاحِ حَتَّىٰ يَبۡلُغَ ٱلۡكِتَٰبُ أَجَلَهُۥۚ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ يَعۡلَمُ مَا فِيٓ أَنفُسِكُمۡ فَٱحۡذَرُوهُۚ وَٱعۡلَمُوٓاْ أَنَّ ٱللَّهَ غَفُورٌ حَلِيمٞ

ความว่า: และไม่มีบาปใดๆ แก่พวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากล่าวเป็นนัยในการขอหญิง และสิ่งที่พวกเจ้าเก็บงำไว้ในใจของพวกเจ้า อัลลอฮ์ทรงรู้ว่าพวกเจ้าจะบอกกล่าวแก่นางให้ทราบแต่ทว่าพวกเจ้าอย่าได้สัญญาแก่นางเป็นการลับ นอกจากพวกเจ้าจะกล่าวถ้อยคำอันดีเท่านั้น และจงอย่าปลงใจซึ่งการทำพิธีแต่งงาน จนกว่าเวลาที่ถูกกำหนดไว้จะบรรลุถึงความสิ้นสุดของมัน และพึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮ์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในจิตใจของพวกเจ้า พวกเจ้าจงสังวรณ์พระองค์ไว้เถิด และพึงรู้ไว้เถิดว่า อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษผู้ทรงหนักแน่น.

  • หลักฐานจากซุนนะฮ์ มีรายงานจากท่าน มุฆีเราะฮ์ บุตรของ ชัวอฺบะฮ์  ได้เล่าว่า:

أتَيتُ النَّبِيَّ صلَّى اللَّهُ عليْهِ وسلَّمَ فذَكرتُ لَهُ امرأةً أخطبُها فقالَ

اذْهب فانظر إليْها فإنَّهُ أجدرُ أن يؤدمَ بينَكُما

ความว่า: ฉันได้มาหาท่านนบี ﷺ และกล่าวให้ท่านฟังถึงหญิงคนหนึ่งที่ฉันจะหมั้นหมายกับเธอ  ท่านนบีจึงกล่าวขึ้นว่า: “ท่านจงไปหานางและมองดูนางเถิด เพราะมันคือสิ่งควรค่า ที่ทำให้เกิดความรักกันระหว่างท่านทั้งสอง”[1] กล่าวคือ คู่หมั้นสามารถที่จะมองดูใบหน้าของอีกฝ่ายได้ก่อนแต่งงาน(โดยมีมะฮ์รอมของฝ่ายหญิงอยู่ด้วย) ซึ่งสิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งหนึ่งที่นำไปสู่ความสนิทสนมและความรักระหว่างกัน.

  • ฮิกมะฮ์ของการหมั้นหมาย คือ เพื่อให้เกิดความสนิทสนม เกิดการทำความรู้จักและรู้ธรรมชาติของบุคคลที่จะแต่งงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะนิสัย คุณธรรม ความเคร่งครัดต่อหลักการ นิสัยและบุคลิกของคนในครอบครัว เป็นต้น
  • ประเภทต่างๆของการหมั้นหมาย
  • การหมั้นหมายมีสองประเภทคือ:

         1. แบบชัดเจน: คือ การที่ฝ่ายชายแสดงเจตจำนงค์อย่างชัดเจนว่าจะทำการสมรสกับฝ่ายหญิงในอนาคต ด้วยถ้อยคำที่ชัดเจน เช่น  ฉันต้องการแต่งงานกับเธอ เป็นต้น

        2. แบบอ้อมๆ: คือ การที่ฝ่ายชายแสดงเจตจำนงค์ว่าพอใจนาง แต่ไม่ได้เอ่ยอย่างชัดเจน แต่ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ เช่น เขากล่าวว่า เธอเป็นสตรีที่ดีมากนะ หรือเธอเป็นสตรีที่คู่ควรที่จะแต่งงานด้วย หรือกล่าวว่าสตรีแบบนี้ละที่ฉันตามหา เป็นต้น หรือคำพูดอื่นๆที่แสดงถึงเจตนาที่ฝ่ายชายต้องการแต่งงานกับนาง

  • เงื่อนไขของการหมั้นหมาย (الخِطبة)
  1. สตรีที่ฝ่ายชายต้องการหมั้นหมายนั้น ต้องไม่หมั้นกับชายอื่นอยู่ก่อนแล้ว ดังที่ท่านนบีได้กล่าวว่า:

ولا يَخْطُبَ الرَّجُلُ علَى خِطْبَةِ أخِيهِ، حتَّى يَتْرُكَ الخاطِبُ قَبْلَهُ أوْ يَأْذَنَ له الخاطِبُ )) ))

ความว่า: และคนหนึ่งอย่าได้ทำการหมั้นซ้อนกับสตรีที่คนอื่นหมั้นหมายอยู่ก่อนแล้ว จนกว่าเขาผู้นั้นจะปล่อยนางไป(ยุติการหมั้นหมาย)หรือได้รับอนุญาตจากเขา

2.สตรีที่ฝ่ายชายต้องการหมั้นหมายนั้น ต้องปราศจากสิ่งที่หลักการของศาสนาห้าม (มะฮ์รอม) คือสตรีถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกับฝ่ายชายไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว เช่น พี่สาวของภรรยา ภรรยาของผู้อื่น เป็นพี่น้องร่วมแม่นมคนเดียวกันหรือมีศาสนาแตกต่างกัน และสตรีที่อยู่ในช่วงอิดดะฮ์

  • รายละเอียดและประเด็นอื่นๆ ต่อครั้งหน้า…….อินชาอัลลอฮ์

[1] บันทึกโดย อิบนิมาญะฮ์ เลขที่ 1524

ตอนที่ 2 ประเด็นต่างๆกับการหมั้นหมาย

ตอนที่ 3 สิ่งที่ควรรู้ก่อนการแต่งงาน

   ในหลักการอิสลามนั้นการเรียนรู้และการทำความเข้าใจก่อนการปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้การปฏิบัติหรืออิบาดะต่างๆของเรานั้นดำเนินไปอย่างถูกต้องและถูกตอบรับ ณ ที่อัลลอฮุตะอาลา ด้วยเหตุดังกล่าวนี้การเรียนรู้และทำความเข้าใจหรือพูดคุยกันในประเด็นของการแต่งงานให้เข้าใจทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะทำพิธีนิกาฮ์หรือแต่งงาน ซึ่งในหลักการของอิสลามได้ให้แนวทางที่สำคัญ ๆ เอาไว้ดังนี้

  • เกณฑ์ของอิสลามในการเลือกบุคคลมาเป็นภรรยาหรือสามี

1. เลือกคนโสดที่มีตักวา(ยำเกรงเคร่งครัดในศาสนา)

  • หลักฐานจากอัลกุรอาน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์อันนูร อายะฮ์ที่ 32 ว่า

﴿ وَأَنكِحُواْ ٱلۡأَيَٰمَىٰ مِنكُمۡ وَٱلصَّٰلِحِينَ مِنۡ عِبَادِكُمۡ وَإِمَآئِكُمۡۚ

إِن يَكُونُواْ فُقَرَآءَ يُغۡنِهِمُ ٱللَّهُ مِن فَضۡلِهِۦۗ وَٱللَّهُ وَٰسِعٌ عَلِيمٞ﴾

ความว่า : “และจงให้พวกเจ้าแต่งงานกับผู้เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า และกับคนดี ๆ จากบ่าวผู้ชายของพวกเจ้า และบ่าวผู้หญิงของพวกเจ้า หากพวกเขายากจน อัลลอฮฺทรงให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นจากความโปรดปรานของพระองค์ และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้”

  • หลักฐานจากซุนนะฮ์ มีรายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์  ได้รายงานว่าท่านรอซูล ได้กล่าวไว้ว่า:

(( تُنْكَحُ المَرْأَةُ لأَرْبَـعٍ: لِـمَالِـهَا، وَلِـحَسَبِـهَا، وَجَـمَالِـهَا، وَلِدِينِـهَا، فَاظْفَرْ بِذَاتِ الدِّينِ تَرِبَتْ يَدَاكَ))

ความว่า: “สตรีนั้นจะถูกแต่งงานเนื่องด้วยสาเหตุสี่ประการ คือ เนื่องจากทรัพย์สินของนาง เนื่องจากวงศ์ตระกูลของนาง เนื่องจากความสวยงามของนาง หรือเนื่องจากศาสนาของนาง ดังนั้นจงเลือกแต่งงานกับสตรีที่มีศาสนาเคร่งครัดในอิสลาม แล้วท่านจะพบเจอสิ่งที่ดีๆ”[1]

            2. เลือกคนที่มีความพร้อมทั้งในด้านคุณภาพและกายภาพ

  • ด้านคุณภาพ คือ มีความพร้อมในการแต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นค่ามะฮัร ที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น นะฟะเกาะฮ์ (ค่าเลี้ยงดูและปัจจัยยังชีพต่างๆ ที่สามีจำเป็นจะต้องจ่ายให้แก่ภรรยา) อาหารและเครื่องนุ่งห่มที่จำเป็น เป็นต้น
  • ด้านกายภาพ คือ สภาพร่างกายต้องปราศจากข้อบกพร่องที่จะส่งผลเสียในการแต่งงาน เช่น ไม่สามารถร่วมหลับนอนกับภรรยาได้ มีอาการทางจิต หรือไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เป็นต้น
  • หลักฐานจากซุนนะฮ์ มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ มัสอูด ว่า ท่านรอซูล ได้กล่าวกับพวกเราว่า:

((يَا مَعْشَرَ الشَّبَابِ، مَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمُ الْبَاءَةَ فَلْيَتَزَوَّجْ،فَإِنَّهُ أَغَضُّ لِلْبَصَرِ،

 وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ، وَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالصَّوْمِ؛ فَإِنَّهُ لَهُ وِجَاءٌ.)) مُتَّفَقٌ عَلَيْهِ

ความว่า: “บรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดในหมู่พวกเจ้านี้มีความสามารถรับภาระการมีครอบครัวได้ เขาจงรีบแต่งงานเสีย เพราะด้วยการแต่งงานนั้นจะทำให้เขาสยบสายตาต่ำลง และ สามารถป้องกันอวัยวะเพศจากการผิดประเวณีได้ และใครที่ ไม่มีความสามารถที่จะมีครอบครัวได้ก็จงถือศีลอดเถิด เพราะการถือศีลอดเป็นการยับยั้งอารมณ์ใคร่ได้”[2]

         อีกฮะดีษหนึ่งท่านรอซูล ได้กล่าวว่า:

((تزوَّجوا الوَدودَ الولودَ فإنِّي مُكاثرٌ بِكُمُ الأُممَ،))

ความว่า: “พวกท่านจงแต่งงานกับกับสตรีที่มอบความรักและอ่อนโยน(ต่อสามีและต่อลูกๆ)และสตรีที่ให้กำเนิดลูกได้มาก เพราะฉันจะได้นำไปอวดกับประชาชาติก่อนหน้านี้”[3]

         * สตรีที่ดีในทัศนะอิสลามนั้น คือ สตรีที่มีคุณธรรมและจริยธรรม คือในยามที่ท่านมองไปยังนางแล้วท่านจะมีความสุข เมื่อท่านให้คำสั่งแก่นางแล้วนางก็จะปฏิบัติตาม และนางจะไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ท่านไม่พอใจ ไม่ว่าด้วยเรื่องของนางเองหรือในเรื่องของทรัพย์สินของท่าน  นางจะปฏิบัติในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮ์สั่งและหลีกเลี่ยงในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม

  • กลุ่มบุคคลที่ศาสนาห้ามไม่ให้ทำการแต่งงานด้วย (المحرمات في النكاح)

         อีกประการที่มุสลิมจำเป็นที่ต้องทราบก่อนการแต่งงานนั้นคือ (มะฮ์รอม) บุคคลที่ศาสนาห้ามไม่ให้ทำการแต่งงานด้วยไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆดังนี้

  • กลุ่มแรกคือ ถูกห้ามแต่งงานตลอดไป แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 มะฮ์รอมทางเชื้อสาย บุคคลประเภทนี้ คือ

         1. พ่อ หรือพ่อของพ่อ หรือพ่อของแม่ จนกระทั่งในระดับสูงขึ้นไปจากฝ่ายชายและหญิง (ปู่ ตา ปู่ทวด ตาทวด…)
         2. ลูกชายและลูกของลูก จนกระทั่งระดับต่ำลงไป เช่น หลาน เหลน โหลน จากลูกชายและลูกสาว
         3. พี่ชายและน้องชาย ทั้งที่พ่อแม่เดียวกัน และพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ หรือแม่เดียวกันแต่คนละพ่อก็ตาม
         4. ลูกชายของพี่ชายและน้องชาย ลูกชายของพี่สาวและน้องสาว ทั้งที่พ่อแม่เดียวกัน และพ่อเดียวกันแต่คนละแม่ หรือแม่เดียวกันแต่คนละพ่อก็ตาม
         5. ลุง ป้า (พี่ของพ่อหรือแม่) และน้า อา (น้องของแม่หรือพ่อ)

ประเภทที่ 2 มะฮ์รอมด้วยการร่วมแม่นมเดียวกัน
         การดื่มนมร่วมแม่นมเดียวกันห้ามแต่งงานกันตลอดชีวิต อุละมาอ์ส่วนใหญ่เห็นว่า การดื่มนมนั้นต้องดื่มจำนวน 5 อิ่มขึ้นไป
ประเภทที่ มะฮ์รอม ด้วยการสมรส
         ผู้ที่ถือว่าเป็นมะฮฺรอมจากการแต่งงาน คือบุคคลที่ห้ามไม่ให้แต่งงานกันตลอดชีวิต อันได้แก่ ภรรยาของลูกชาย ภรรยาของพ่อ แม่ของภรรยา ลูกชายของสามี  ลูกสาวของภรรยา(หากว่ามีการร่วมหลับนอนกันแล้ว)

  • กลุ่มที่สองคือ ถูกห้ามแต่งงานชั่วคราว คือ
  • พี่สาวหรือน้องสาว น้าหรือป้าของภรรยาโดยทางสายเลือดหรือร่วมแม่นมเดียวกัน แต่หากว่าภรรยาเสียชีวิตหรือหย่าร้าง ก็เป็นที่อนุญาตหลังจากหมดระยะเวลาอิดดะฮ์แล้ว
  • สตรีที่อยู่ในอิดดะฮ์ จนกว่าจะหมดระยะเวลาอิดดะฮ์แล้ว
  • สตรีที่อยู่ในความดูแลของสามีนาง
  • ภรรยาที่ถูกอย่า 3 ครั้ง จนกว่านางจะแต่งงานใหม่และอย่าร้างกัน
  • สตรีที่กำลังอยู่ในช่วงประกอบพิธีฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์
  • ชนต่างศาสนิกจนกว่าบุคคลนั้นจะเข้ารับอิสลาม
  • รายละเอียดและประเด็นอื่นๆ ต่อครั้งหน้า…….อินชาอัลลอฮ์

[1] บันทึกโดย บุคอรีย์ 5090 และ มุสลิม 1466)

[2] บันทึกโดย บุคอรีย์ 5066 และมุสลิม 1400

[3] บันทึกโดยอะหมัดและอิบนิฮิบบาน

ตอนที่ 4 องค์ประกอบของการแต่งงาน

เรื่อง : องค์ประกอบที่สำคัญของการแต่งงาน เงื่อนไขและประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง

                  หลักการแต่งงาน (นิกาห์) ในอิสลามนั้น มีหลักสำคัญที่เป็นองค์ประกอบและเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้อยู่ 5 ประการด้วยกัน ซึ่งถ้าการแต่งงานขาดหลักข้อหนึ่งข้อใดไป ถือว่าการแต่งงานดังกล่าวนั้นเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้ ดังนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจหรือพูดคุยกันในประเด็นของการแต่งงานให้เข้าใจทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่จะทำพิธีนิกาฮ์หรือแต่งงานนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้การปฏิบัติหรืออิบาดะฮ์ต่างๆของเรานั้นดำเนินไปอย่างถูกต้องและถูกตอบรับ ณ ที่อัลลอฮุตะอาลา

* องค์ประกอบหลักและเงื่อนไขที่สำคัญของการแต่งงาน (أركان النكاح وشروطه)

1. คู่บ่าวสาว (ผู้ชายและผู้หญิง)

1.1 ผู้ชาย (เจ้าบ่าว) มีเงื่อนไขดังนี้

– เป็นมุสลิม

– ไม่ได้อยู่ในขณะครองเอี๊ยฮ์รอมเพื่อทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์

– มีความพึงพอใจ ไม่ถูกบังคับ โดยอาศัยรายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮ์http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ea/%D8%B1%D8%B6%D9%8A_%D8%A7%D9%84%D9%84%D9%87_%D8%B9%D9%86%D9%87.png  ได้รายงานว่าท่านรอซูล ได้กล่าวไว้ว่า:

((لا تُنْكَحُ الأَيِّـمُ حَتَّى تُسْتَأْمَـرَ، وَلا تُنْكَحُ البِكْرُ حَتَّى تُسْتَأْذَنَ قالوا:

يا رسول الله وكيف إذنها؟ قال: أَنْ تَسْكُتَ))

ความว่า: “อย่าทำการแต่งงานให้แก่หญิงหม้าย จนกว่านางจะยินยอมเอง และอย่าได้ทำการแต่งงานให้กับสาวที่ยังไม่เคยแต่งงานจนกว่าจะได้รับการยินยอมจากนาง” บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวถามว่า “ท่านรอซูลุลลอฮ์ การยินยอมของนางนั้นเป็นแบบไหน ?” ท่านรอซูลก็ตอบว่า “คือการนิ่งเงียบของนาง[1]

– ต้องเจาะจงหรือระบุตัวเจ้าบ่าวให้ชัดเจน

– ต้องรู้ถึงสตรีที่จะทำการแต่งงาน เช่น ชื่อ นามสกุล เป็นบุตรของไคร รูปร่างหน้าตาหรือลักษณะ เป็นต้น

1.2 ผู้หญิง (เจ้าสาว) มีเงื่อนไขดังนี้

– เป็นมุสลิมะฮ์หรือหญิงชาวอะฮ์ลุลกิตาบ (ชาวยิวและคริสต์)

– ไม่ได้อยู่ในขณะครองเอี๊ยฮ์รอมเพื่อทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์

– มีความพึงพอใจ ไม่ถูกบังคับ

– ต้องเจาะจงหรือระบุตัวเจ้าสาวให้ชัดเจน

– ต้องไม่เป็นบุคคลที่ศาสนาห้ามแต่งงาน เป็นภรรยาของผู้อื่นหรืออยู่ในช่วงอิดดะฮ์

2. ผู้ปกครองฝ่ายหญิง (วลี)

2.1 ผู้ปกครองฝ่ายหญิง (วลี) มีเงื่อนไขดังนี้

– เป็นมุสลิมและต้องเป็นเพศชาย

– มีสติสัมปชัยญะสมบูรณ์ ไม่บ้า วิกลจริต (عاقل)

– บรรลุศาสนภาวะ (بالغ)

– เป็นอิสระชน ไม่ใช่ทาส

– ไม่ได้อยู่ในขณะครองเอี๊ยฮ์รอมเพื่อทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์

2.2 ลำดับของวลีฝ่ายหญิง

1.พ่อ 2.ปู่ (วลีมุจบิร) 3.พี่ชายหรือน้องชายพ่อแม่เดียวกันกับเจ้าสาว 4.พี่ชายหรือน้องชายพ่อเดียวกันกับเจ้าสาว 5.ลูกชายของพี่น้องชายพ่อแม่เดียวกันกับเจ้าสาว 6.ลูกชายของพี่น้องชายพ่อเดียวกันกับเจ้าสาว 7.ลุงหรืออาร่วมพ่อแม่เดียวกันกับพ่อเจ้าสาว 8.ลุงหรืออาร่วมพ่อเดียวกันกับพ่อเจ้าสาว 9.ลูกของลุงหรืออาร่วมพ่อแม่เดียวกันกับพ่อเจ้าสาว  10.ลูกของลุงหรืออาร่วมพ่อเดียวกันกับพ่อเจ้าสาว

หมายเหตุ..หากแต่งงานโดยไม่มีวลีหรือไม่ได้รับอนุญาติจากวลี การแต่งงานดังกล่าวถือว่าใช้ไม่ได้และเป็นการแต่งงานที่ไม่ถูกต้อง

หากไม่มีบุคคลที่กล่าวมาข้างต้น หน้าที่การเป็นวลีจะตกอยู่กับซุลฏอนหรือฮากิม (ผู้ปกครองมุสลิม) หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งให้ทำหน้าที่จากผู้ปกครองมุสลิม (วะลีตะฮ์กีม)

3. พยาน 2 คน (ชาฮิดาน)

3.1 พยาน (ชาฮิด) มีเงื่อนไขดังนี้

– เป็นมุสลิมและต้องเป็นเพศชาย

– มีสติสัมปชัยญะสมบูรณ์ ไม่บ้า วิกลจริต (عاقل)

– บรรลุศาสนภาวะ (بالغ)

– เป็นอิสระชน ไม่ใช่ทาส

– ไม่เป็นไบ้ หูหนวกหรือตาบอด

– เข้าใจภาษาที่ใช้ในการอีญาบ (คำเสนอ) และคำกอบูล (และคำสนอง)

– เป็นผู้มีคุณธรรม

4. สำนวนคำเสนอและคำสนอง (อีญาบ กอบูล)

4.1 คำเสนอและคำสนอง มีเงื่อนไขดังนี้

– เปล่งวาจาออกมาจากคำเสนอและคำสนอง

– ต้องเป็นถ้อยคำที่เข้าใจความหมายทั้งวลี เจ้าบ่าวและพยาน

– ต้องเป็นถ้อยคำที่แสดงออกถึงจุดมุ่งหมายการแต่งงานอย่างชัดเจนและต้องปราศจาก  ข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับการนิกาฮ์แทรกอยู่ เช่น คำเสนอกล่าวว่า “ข้าพเจ้าจัดการนิกาฮ์ท่านกับ….บุตรีของข้าพเจ้าด้วยมะฮัรจำนวน….บาท” หรือ “ข้าพเจ้าจัดการนิกาฮ์ท่านกับนางสาว….บุตรีของนาย…….ด้วยมะฮัรจำนวน….บาทหรือที่ทั้งสองตกลงกัน” คำสนองกล่าวว่า “ข้าพเจ้ารับนิกาฮ์กับนางสาว…….ด้วยมะฮัรดังกล่าวหรือที่ตกลงกันไว้”

– ต้องไม่มีการระบุระยะเวลาในการแต่งงาน เช่น 1 เดือนหรือ 1ปี เป็นต้น

– คำเสนอและคำสนองจะต้องต่อเนื่องกัน

หมายเหตุ..หากวลีหรือเจ้าบ่าวพูดไม่ได้ก็ให้ใช้การเขียนแทนได้

5. มะฮัร,เศาะดาก,เนียฮ์ละฮ์,อัจร์ (สิดสอดที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝายหญิงเมื่อทำการนิกาฮ์)

5.1 เกี่ยวกับมะฮัร มีประเด็นต่างๆที่ควรทราบดังนี้

– มะฮัรเป็นสิ่งจำเป็นที่ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องมอบให้แก่เจ้าสาว และเป็นสิทธิ์ของนางโดยตรง ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์ในส่วนตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นสามี พ่อ แม่หรือผู้มีบุญคุณต่องนางนอกจากว่านางจะเต็มใจให้ด้วยตัวของนางเอง

  • หลักฐานจากอัลกุรอาน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์อันนิซาอฺ อายะฮ์ที่ 4 ว่า

﴿ وَآَتُوا النِّسَاءَ صَدُقَاتِهِنَّ نِحْلَةً ﴾

         ความว่า : “และจงให้แก่บรรดาหญิงซึ่งมะฮัรของนาง ด้วยความเต็มใจ”

  • มะฮัรเป็นสิ่งที่วาญิบฝ่ายชายตอ้งจ่ายให้ฝ่ายหญิง เป็นมติเอกฉันทของบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม[2]
  • การกำหนดอัตรามะฮัรในสัญญาสมรสไม่มีตัวบทจากอัลกุรอานและไมมีตัวบทจาก   ฮะดีษว่ามากน้อยเพียงใด เพื่อปล่อยโอกาสให้แต่ละคนกระทำไปตามความสามารถของพวกเขาและประเพณีปฏิบติของพวกเขา ศาสนาจึงอนุญาตให้มอบมะฮัรแม้จะเป็น แหวนที่ทำด้วยเหล็กสักวงหนึ่ง อินทผาลัม 1 ถ้วยหรือด้วยการสอนอัลกุรอานให้ ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายได้ยินยอมหรือพอใจ แต่ควรจ่ายตามฐานะหรือความเหมาะสมหรือที่เคยปฏิบัติกันในครอบครัว (มะฮัรมิซิล)
  • อนุญาติให้จ่ายมะฮัรล่วงหน้าหรือล่าช้าในการจ่ายมะฮัรได้ สามารถให้มะฮัรก่อนบางส่วนได้ (ผ่อนเป็นงวดๆ) แต่ควรจ่ายก่อนที่จะมีการร่วมหลับนอนกัน
  • รายละเอียดและประเด็นอื่นๆ ต่อครั้งหน้า…….อินชาอัลลอฮ์

[1] บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5136 และมุสลิม 1419

[2] ดูอัลนาวาวี :1996 เล่ม18หน้า 4

ตอนที่ 5 รายละเอียดเงื่อนไขของการแต่งงาน

ตอนที่ 6 พิธีนิกะห์และการจัดงานมงคลสมรส

ตอนที่ 7 สิทธิระหว่างสามีและภรรยา

                  สิทธิระหว่างสามีและภรรยาในอิสลามนั้น เป็นหลักสำคัญที่เป็นองค์ประกอบและเงื่อนไขที่สำคัญอยู่มากมาย ดังนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจหรือพูดคุยกันในประเด็นของการให้สิทธิระหว่างสามีและภรรยาให้เข้าใจทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ก็เพื่อให้การปฏิบัติหรืออิบาดะฮ์ต่างๆของเรานั้นดำเนินไปอย่างถูกต้อง ไม่มีปัญหาและถูกตอบรับ ณ ที่อัลลอฮุตะอาลา

  •  สิทธิของภรรยา

         สำหรับภรรยานั้นมีสิทธิที่ต้องได้รับจากสามีของนางไม่ว่าจะเป็นสิทธิในด้านทรัพย์สินเช่นค่าสินสอดค่าเลี้ยงดูและที่อยู่อาศัย…อีกประการหนึ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเช่นความยุติธรรมระหว่างบรรดาภรรยาการใช้ชีวิตกับพวกนางด้วยดีและไม่ทำอันตรายต่อภรรยาของเขาเป็นต้น

  • สิทธิของภรรยาที่เป็นสิทธิที่เฉพาะเจาะจงสำหรับนางมีดังนี้คือ…

1. สิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน

1.1 มะฮัร (สิดสอดที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝายหญิงเมื่อทำการนิกาฮ์)

เกี่ยวกับมะฮัร มีประเด็นต่างๆที่ควรทราบดังนี้

– มะฮัรเป็นสิ่งจำเป็นที่ฝ่ายเจ้าบ่าวต้องมอบให้แก่เจ้าสาว และเป็นสิทธิ์ของนางโดยตรง ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์ในส่วนตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นสามี พ่อ แม่หรือผู้มีบุญคุณต่องนางนอกจากว่านางจะเต็มใจให้ด้วยตัวของนางเอง

  • หลักฐานจากอัลกุรอาน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์อันนิซาอฺ อายะฮ์ที่ 4 ว่า

﴿ وَآَتُوا النِّسَاءَ صَدُقَاتِهِنَّ نِحْلَةً ﴾

         ความว่า : “และจงให้แก่บรรดาหญิงซึ่งมะฮัรของนาง ด้วยความเต็มใจ”

 มะฮัรเป็นสิ่งที่วาญิบฝ่ายชายตอ้งจ่ายให้ฝ่ายหญิง เป็นมติเอกฉันทของบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม[1] ในบทบัญญัตินั้นถือว่ามะฮัรเป็นการแสดงออกถึงการทำสัญญาหรือการที่ทำให้เงื่อนไขของการแต่งงานนั้นสมบูรณ์นอกจากนี้ยังเป็นการยกย่องและให้เกียรติพวกนางอีกด้วย

  • การกำหนดอัตรามะฮัรในสัญญาสมรสไม่มีตัวบทจากอัลกุรอานและไมมีตัวบทจาก   ฮะดีษว่ามากน้อยเพียงใด เพื่อปล่อยโอกาสให้แต่ละคนกระทำไปตามความสามารถของพวกเขาและประเพณีปฏิบติของพวกเขา ศาสนาจึงอนุญาตให้มอบมะฮัรแม้จะเป็น แหวนที่ทำด้วยเหล็กสักวงหนึ่ง อินทผาลัม 1 ถ้วยหรือด้วยการสอนอัลกุรอานให้ ตราบใดที่ทั้งสองฝ่ายได้ยินยอมหรือพอใจ แต่ควรจ่ายตามฐานะหรือความเหมาะสมหรือที่เคยปฏิบัติกันในครอบครัว (มะฮัรมิซิล)
  • อนุญาติให้จ่ายมะฮัรล่วงหน้าหรือล่าช้าในการจ่ายมะฮัรได้ สามารถให้มะฮัรก่อนบางส่วนได้ (ผ่อนเป็นงวดๆ) แต่ควรจ่ายก่อนที่จะมีการร่วมหลับนอนกัน

1.2 ค่าอุปการะเลี้ยงดู (นะฟะเกาะฮ์)

 บรรดาอุละมาอ์ เห็นตรงกันว่าจำเป็นที่จะต้องจ่ายนะฟะเกาะหรือค่าเลี้ยงดูให้กับบรรดาภรรยาของพวกเขาโดยมีเงื่อนไขว่า ให้พวกนางเพียงพอที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยกับค่าใช้จ่ายดังกล่าวอย่างไม่ลำบากเกินไป  แต่ในกรณีที่นางนั้นดื้อดึงหรือไม่เชื่อฟัง พวกนางก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าเลี้ยงดูดังกล่าว

  • หิกมะฮ์ในความจำเป็นที่จะต้องให้ค่าเลี้ยงดูแก่นาง ก็เพราะว่านางนั้นได้ถูกบังคับให้อยู่ภายใต้การควบคุมของสามีเมื่อได้มีการทำสัญญาแต่งงานเรียบร้อยแล้ว ทั้งการที่นางต้องห้ามออกจากบ้านเว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจากสามี ไม่ว่าจะออกไปทำงานหรือออกไปทำธุระใดๆก็ตาม ด้วยเหตุนี้เอง…สำหรับสามีจึงจำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูตรงนี้ให้กับนางให้พอเพียงต่อการที่นางจะใช้ชีวิตอยู่ได้ทั้งตัวนางเองและลูก ๆ และเช่นเดียวกันค่าเลี้ยงดูดังกล่าวยังแลกเปลี่ยนกับการหาความสุขกับงานอีกด้วย
  • เป้าหมายหรือจุดประสงค์ของค่าเลี้ยงดูตรงนี้หมายถึง การดำเนินการในสิ่งที่ภรรยามีความต้องการไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่อยู่อาศัยหรือเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น และสิ่งที่จำเป็นแก่นางบางอย่างหากว่านางมีความต้องการ ดังที่อัลลอฮ์ตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 233 ว่า

﴿ وَعَلَى ٱلۡمَوۡلُودِ لَهُۥ رِزۡقُهُنَّ وَكِسۡوَتُهُنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ لَا تُكَلَّفُ نَفۡسٌ إِلَّا وُسۡعَهَاۚ﴾

ความว่า : “และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้นคือปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครื่องนุ่งห่มของ  พวกนางโดยชอบธรรม ไม่มีชีวิตใดจะถูกบังคับนอกจากเท่าที่ชีวิตนั้นมีกำลังความสามารถเท่านั้น”

      สามีต้องให้ปัจจัยยังชีพที่และเครื่องนุ่งห่มที่พอเพียงแก่นางและลูกๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของสามีและขอบเขตของเขาที่เขาสามารถจะให้แก่นางได้อันนี้คือสิ่งที่จะต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน

  • หลักฐานจากซุนนะฮ์

  (( جاءت هندٌ إلى النَّبيِّ صلَّى اللَّهُ عليْهِ وسلَّم، فقالت: يا رسولَ اللَّهِ إنَّ أبا سفيانَ رجلٌ شحيحٌ،               لا يعطيني ما يَكفيني وولَدي، إلَّا ما أخذتُ من مالِهِ، وَهوَ لا يعلَمُ، فقال: خُذي ما يَكفيكِ وولدَكِ بالمعروفِ ))

ความว่า : ฮินด์ บินติอุตบะฮ์ ภรรยาของอบีซุฟยานขณะที่นางมาร้องเรียนต่อท่านว่าสามีของนางนั้นเป็นคนตระหนี่ไม่ยอมให้ค่าเลี้ยงดูที่เพียงพอแก่นางและลูกๆ เว้นแต่ฉันต้องแอบไปเอาเงินจากเขาโดยที่เขาไม่รู้..ท่านนบีจึงกล่าวแก่นางว่า: “จงเอาค่าเลี้ยงดูให้เพียงพอกับเธอและลูกๆของเธอตามความพอดี” (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 3825)

2. สิทธิต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ทรัพย์สิน

2.1 การให้ความยุติธรรมความเป็นธรรมระหว่างบรรดาภรรยาของเขา

จากสิทธิของภรรยาที่จะต้องได้รับจากสามีของนางก็คือการให้ความเท่าเทียมกันให้ความยุติธรรมระหว่างบรรดาภรรยาของเขา หากว่าเขานั้นมีภรรยาหลายคนไม่ว่าจะในการค้างแรมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายหรือที่อยู่อาศัย เป็นต้น

2.2 การอยู่ร่วมกันกับนางด้วยความเข้าอกเข้าใจ

จำเป็นสำหรับสามีที่จะต้องปฏิบัติด้วยกับมารยาทที่ดีกับภรรยาของเขาและอ่อนโยนกับนาง ให้หรือมอบในสิ่งที่เขาสามารถให้แก่นางได้ในสิ่งที่จะทำให้หัวใจของนางเกิดความผูกพันและมีความรักให้กัน ดังที่ดังที่อัลลอฮ์ตรัสไว้ในซูเราะฮ์อันนิสาอ์ อายะฮ์ที่ 19 ว่า:

﴿ وَعَاشِرُوهُنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ فَإِن كَرِهۡتُمُوهُنَّ فَعَسَىٰٓ أَن تَكۡرَهُواْ شَيۡ‍ٔٗا وَيَجۡعَلَ ٱللَّهُ فِيهِ خَيۡرٗاكَثِيرٗ﴾

ความว่า : “สู่เจ้าทั้งหลายจงใช้ชีวิตร่วมกับนางคือบรรดาภรรยาด้วยดี หากพวกเจ้าเกลียดพวกนาง ก็อาจเป็นไปได้ว่า การที่พวกเจ้าเกลียดสิ่งหนึ่งขณะเดียวกันอัลลอฮ์ก็ทรงให้มีในสิ่งนั้น ซึ่งอาจเป็นความดีอันมากมาย”

  • สิทธิของสามีที่จะต้องได้รับจากภรรยา

        สิทธิต่าง ๆ ของสามีที่จะต้องได้รับจากภรรยานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในบรรดาสิทธิต่างๆ ดังที่อัลลอฮ์ตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 228 ว่า:

 “และพวกนางนั้นจะได้รับเช่นเดียวกับสิ่งที่เป็นหน้าที่ของพวกนางจะต้องปฏิบัติโดยชอบธรรม และสำหรับบรรดาชายนั้นมีฐานะเหนือพวกนางขั้นหนึ่งและอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ”

  • จากบรรดาสิทธิต่างๆที่สามีพึงได้รับจากภรรยามีดังนี้..
  • ภรรยาต้องเชื่อฟังสามี

อัลลอฮ์ ทรงทำให้ฝ่ายชายนั้นมีความหนักแน่นเข้มแข็งเหนือกว่าบรรดาสตรี ในกิจการต่าง ๆ การให้การดูแลหรือคุ้มครองแก่นางเหมือนดังเช่นผู้ปกครองที่จะต้องดูแลผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ซึ่งอัลลอฮ์ ได้ทำให้สิ่งนี้เป็นสิ่งเฉพาะสำหรับฝ่ายชายไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะเฉพาะทางด้านโครงสร้างของร่างกาย ความคิดและสติปัญญา และด้วยกับสิ่งที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับเขาที่จะต้องนำมา เช่น ความจำเป็นที่จะต้องหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว เป็นต้น..

ท่านอีหม่ามอิบนิกะษีรได้กล่าวว่า:ท่านอาลี บิน อะบีฏอลฮะฮ์ ได้รายงานจากท่าน    อิบนิอับบาสว่า  “ที่ว่าบรรดาบุรุษนั้นมีความเข้มแข็งหนักแน่นกว่าบรรดาสตรีนั้นหมายความว่า:พวกเขานั้นเป็นผู้นำของพวกนาง นางจะต้องเชื่อฟังเขาในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงสั่งใช้ด้วยการเชื่อฟังเขา และการเชื่อฟังเขานั้นก็คือ การที่นางจะต้องปฏิบัติดีกับครอบครัวของเขาและคอยดูแลทรัพย์สินของเขาให้ดี.

         2. ภรรยานั้นจะต้องให้สามีร่วมหลับนอนกับนางได้

จากสิทธิของสามีที่พึงได้รับจากภรรยาของเขาก็คือ เขานั้นสามารถที่จะหาความสุขจากนางได้ แต่เมื่อหากนางหักห้ามตัวเองหรือไม่ยอมให้สามีร่วมหลับนอนหากสามีมีความต้องการ และได้มีการตักเตือนแล้ว ดังกล่าวถือเป็นความผิดในหลักการอิสลาม เว้นแต่นางนั้นจะมีอุปสรรคที่เป็นอุปสรรคทางบทบัญญัติหรือตามหลักการอิสลาม เช่น มีประจำเดือน การถือศีลอดที่เป็นฟัรฏู นางเกิดเจ็บป่วยหรือในสิ่งที่คล้ายคลึงกันนี้ ทั้งนี้เนื่องจากมีรายงานจากท่าน อบีฮุร็อยเราะฮ์ ได้กล่าวว่า: ท่านนบีได้กล่าวว่า: “เมื่อสามีทำการร้องขอจากภรรยาของเขาไปยังเตียงนอน (ร่วมหลับนอน) แต่นางปฏิเสธไม่ยอมไปและเขาก็โกรธนาง บรรดามะลาอิกะฮ์จะทำการสาปแช่งนางจนกระทั่งเช้า” (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 3065)

  • ภรรยานั้นต้องไม่อนุญาตให้ผู้ที่สามีของนางเกลียดหรือไม่ชอบเข้ามาในบ้าน

 จากสิทธิของสามีที่พึงได้รับจากภรรยาของเขาก็คือการที่นางนั้นจะต้องไม่ให้บุคคลที่สามีของนางรู้สึกเกลียดหรือไม่ชอบเข้ามาในบ้าน ดังที่มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮ์ ได้กล่าวว่า :ท่าน   นบีได้กล่าวว่า: “ไม่อนุญาตให้สตรีคนหนึ่งคนใดทำการถือศีลอดโดยที่สามีของนางนั้นยังอยู่กับนางนอกจากจะต้องได้รับอนุญาตจากเขา และไม่อนุญาตให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้ามาในบ้านเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเขา…” (บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ ฮะดีษเลขที่ 4899)

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เหตุก็เนื่องมาจากว่า “การเชื่อฟังสามีนั้นเป็นวายิบสำหรับนางฉะนั้นจึงไม่อนุญาตให้ทิ้งสิ่งที่เป็นวายิบด้วยกับสิ่งที่ไม่ใช่วายิบ

  • สิทธิในการลงโทษหรือเตือนภรรยา

สำหรับสามีนั้นก็มีสิทธิที่จะลงโทษภรรยาของเขาหากว่านางฝ่าฝืนหรือไม่เชื่อฟังในสิ่งที่ไม่ได้ขัดต่อหลักการของศาสนาและไม่ใช่สิ่งที่ผิดหลักการ เพราะว่าอัลเลาะห์นั้นได้สั่งใช้ให้ลงโทษบรรดาสตรีด้วยกับการที่ออกห่างจากนางหรือลงโทษเมื่อนางไม่ยอมเชื่อฟัง

5. สามีจะต้องได้รับการปรนนิบัติหรือดูแลจากภรรยา

6. ภรรยาจะต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสามีด้วยกับความเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

อัลลอฮ์ตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 228 ว่า:

﴿ وَلَهُنَّ مِثۡلُ ٱلَّذِي عَلَيۡهِنَّ بِٱلۡمَعۡرُوفِۚ ۚ﴾

ความว่า : “และพวกนางนั้นจะได้นรับเช่นเดียวกับสิ่งที่เป็นหน้าที่ของพวกนางจะต้องปฏิบัติโดยชอบธรรม”


[1] ดูอัลนาวาวี :1996 เล่ม18หน้า 4

ตอนที่ 8 : การไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสามีและภรรยา

                  การใช้ชีวิตคู่บางครั้งอาจมีความไม่เข้าใจกัน มีการกระทบกระทั่งกัน หรือเมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นย่อมททำให้เกิดช่องว่างระหว่างสามีภรรยาและอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้  ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องหาหนทางที่จะระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้ยุติลงให้ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น วิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่ความเข้าใจระหว่างกันได้ ดังนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจหรือพูดคุยกันในประเด็นดังกล่าวให้เข้าใจทั้งสองฝ่ายตามแนวทางของอิสลามจึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ศรัทธา เพื่อให้อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยดังที่พระองค์ตรัสในซูเราะฮ์อาละอิมรอน อายะฮ์ที่ 31 ว่า:

﴿ قُلۡ إِن كُنتُمۡ تُحِبُّونَ ٱللَّهَ فَٱتَّبِعُونِي يُحۡبِبۡكُمُ ٱللَّهُ وَيَغۡفِرۡ لَكُمۡ ذُنُوبَكُمۡۚ وَٱللَّهُ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ﴾

         ความว่า : “จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮฺ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”

  • หลักฐานที่สนับสนุนให้มีการระงับข้อพิพาท มีดังนี้คือ…
    • หลักฐานจากอัลกุรอาน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัลหุญุรอต อายะฮ์ที่ 10 ว่า

﴿ إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ إِخْوَةٌ فَأَصْلِحُوا بَيْنَ أَخَوَيْكُمْ وَاتَّقُوا اللَّهَ لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ ﴾

         ความว่า : “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน ดังนั้นพวกเจ้าจงไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันระหว่างพี่น้องทั้งสองฝ่ายของพวกเจ้า และจง ยำเกรงอัลลอฮ์ เถิด หวังว่าพวกเจ้าจะได้รับความเมตตา”

  • หลักฐานจากซุนนะฮ์   

          ท่านนบีมุฮัมมัดhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ea/%D8%B1%D8%B6%D9%8A_%D8%A7%D9%84%D9%84%D9%87_%D8%B9%D9%86%D9%87.png  ได้อธิบายถึงคุณค่าของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ว่าเป็น         อิบาดะฮ์ประการหนึ่งที่มีคุณค่าอเนกอนันต์ ดังที่มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัรhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ea/%D8%B1%D8%B6%D9%8A_%D8%A7%D9%84%D9%84%D9%87_%D8%B9%D9%86%D9%87.png รายงานว่า ท่านนบีมุฮัมมัด  กล่าวว่า

((أفضل الصدقة إصلاح ذات البين))

ความว่า : “การบริจาคทานที่ประเสริฐที่สุดคือการไกล่เกลี่ยคู่พิพาท”[1]

  • คุณค่าของการไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท

อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัลนิสาอ์ อายะฮ์ที่ 114 ว่า:

﴿ لَّا خَيْرَ فِي كَثِيرٍ مِّن نَّجْوَاهُمْ إِلَّا مَنْ أَمَرَ بِصَدَقَةٍ أَوْ مَعْرُوفٍ أَوْ إِصْلَاحٍ

 بَيْنَ النَّاسِ وَمَن يَفْعَلْ ذَٰلِكَ ابْتِغَاءَ مَرْضَاتِ اللَّهِ فَسَوْفَ نُؤْتِيهِ أَجْرًا عَظِيمًا ﴾

         ความว่า : “ไม่มีความดีใดๆ ในการพูดซุบซิบอันมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำงานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม หรือให้ประนีประนอมระหว่างผู้คนเท่านั้น”

                  อิมามอัลรอซีย์ อธิบายว่า: “คำซุบซิบและคำพูดต่างๆ ที่ไม่ดีนอกจากจะต้องเป็นคำพูดในเรื่องที่ดี แล้วอัลลอฮฺ  ก็กล่าวถึงเรื่องที่ดี 3 ประการ ได้แก่ การใช้ให้บริจาค ใช้ให้ทำสิ่งที่ดีงามและการประนีประนอมคู่พิพาท”

                  อิมามอิบนุญะรีรอัฏฏอบรีย์ อธิบายว่า: “ผู้ใดใช้ให้ทำทานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงามหรือให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้คนเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ  ก็จะได้รับรางวัลอันใหญ่หลวงจากอัลลอฮฺ โดยไม่มีการกำหนดขีดจำกัดของคำว่าใหญ่หลวงที่ผู้อื่นจะทราบได้” 

                  อิมามอัสสะอฺดีย์ กล่าวว่า: “การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นเป็นสิ่งที่กระทำต่อคู่พิพาท ซึ่งการพิพาท การทะเลาะเบาะแว้ง และการโกรธเคืองกันนั้นทำให้เกิดสิ่งเลวร้าย และความแตกแยกที่ไม่อาจจะคาดการณ์ความเสียหายได้”

  • การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรณีครอบครัว

วิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งในการใช้ชีวิตคู่ตามแนวทางของอิสลามมีอยู่กรณี ดังนี้

  • กรณีแรก คือ ถ้าฝ่ายภริยาขุ่นเคืองและดื้อรั้น

         ในกรณีนี้มีแนวทางอิสลามให้ปฏิบัติดังนี้

  • ให้สามีกล่าวตักเตือนนางด้วยถ้อยคำที่ดี ตักเตือนด้วยหลักการอิสลาม  หรือ
  • ปล่อยนางไว้แต่ลำพังในที่นอนโดยไม่ยุ่งกับนาง
  • การตีนางเพื่อเตือนแต่พอดี

โดยอาศัยหลักฐานจากในซูเราะฮ์อัลนิสาอ์ อายะฮ์ที่ 34 ว่า:

﴿ ٱلرِّجَالُ قَوَّٰمُونَ عَلَى ٱلنِّسَآءِ بِمَا فَضَّلَ ٱللَّهُ بَعۡضَهُمۡ عَلَىٰ بَعۡضٖ وَبِمَآ أَنفَقُواْ مِنۡ أَمۡوَٰلِهِمۡۚ فَٱلصَّٰلِحَٰتُ قَٰنِتَٰتٌ حَٰفِظَٰتٞ لِّلۡغَيۡبِ بِمَا حَفِظَ ٱللَّهُۚ وَٱلَّٰتِي تَخَافُونَ نُشُوزَهُنَّ فَعِظُوهُنَّ وَٱهۡجُرُوهُنَّ فِي ٱلۡمَضَاجِعِ وَٱضۡرِبُوهُنَّۖ فَإِنۡ أَطَعۡنَكُمۡ فَلَا تَبۡغُواْ عَلَيۡهِنَّ سَبِيلًاۗإِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلِيّٗاكَبِيرٗ ﴾

     ความว่า : “บรรดาชายนั้น คือผู้ที่ทำหน้าที่ปกครองเลี้ยงดูบรรดาหญิง เนื่องด้วยการที่อัลลอฮ์ ได้ทรงให้บางคนของพวกเขาเหนือกว่าอีกบางคนและด้วยการที่พวกเขาได้จ่ายไปจากทรัพย์ของพวกเขา บรรดากุลสตรีนั้นคือผู้จงรักภักดี ผู้รักษาในทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ลับหลังสามี เนื่องด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงรักษาไว้ และบรรดาหญิงที่พวกเจ้าหวั่นเกรงในความดื้อดึงของนางนั้น ก็จงกล่าวตักเตือนนางและทอดทิ้งนางไว้แต่ลำพังในที่นอน และจงตีนาง แต่ถ้านางเชื่อฟังพวกเจ้าแล้ว ก็จงอย่าหาทางเอาเรื่องแก่นาง แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงเกรียงไกร”

  • ถึงกรณีที่สอง คือ ถ้าความเกลียดชังหรือข้อพิพาทมาจากสามีและภรรยา

ในกรณีนี้มีแนวทางอิสลามให้ปฏิบัติดังนี้

  • แต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยคนหนึ่งจากครอบครัวของฝ่ายชาย และผู้ไกล่เกลี่ยอีกคนหนึ่งจากครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

โดยอาศัยหลักฐานจากในซูเราะฮ์อัลนิสาอ์ อายะฮ์ที่ 35 ว่า:

﴿ وَإِنۡ خِفۡتُمۡ شِقَاقَ بَيۡنِهِمَا فَٱبۡعَثُواْ حَكَمٗا مِّنۡ أَهۡلِهِۦ وَحَكَمٗا مِّنۡ أَهۡلِهَآ

إِن يُرِيدَآ إِصۡلَٰحٗا يُوَفِّقِ ٱللَّهُ بَيۡنَهُمَآۗ إِنَّ ٱللَّهَ كَانَ عَلِيمًا خَبِيرٗا ﴾

     ความว่า : “และหากพวกเจ้าหวั่นเกรงการแตกแยกระหว่างเขาทั้งสอง ก็จงส่งผู้ตัดสินคนหนึ่งจากครอบครัวของฝ่ายชาย และผู้ตัดสินอีกคนหนึ่งจากครอบครัวฝ่ายหญิง หากทั้งสองปรารถนาให้มีการประนีประนอมกันแล้ว อัลลอฮฺก็จะทรงให้ความสำเร็จในระหว่างทั้งสอง แม้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาน”

บรรดานักวิชาการทางฟิกฮ์ได้กล่าวว่า: “หากความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สมรส ผู้ปกครองควรจะพิจารณาพวกเขาในด้านที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบกิจการของพวกเขาให้ถี่ถ้วน และอย่าได้อธรรมแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ถ้าหากเรื่องของพวกเขารุนแรงขึ้นและการทะเลาะวิวาทของพวกเขายืดเยื้อ ก็ให้ผู้ปกครองของแต่ละฝ่ายจะส่งคนที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ร่วมกันพิจารณาเรื่องของพวกเขาและทำในสิ่งที่เป็นก่อให้เกิดผลดีแก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นการแยกทางหรือการประนีประนอม และหนทางต่างๆที่จะนำไปสู่การประนีประนอมได้”

  • ประเด็นต่างๆที่ควรทราบ…
    • นักวิชากการมีความเห็นต่างกันในประเด็นที่ว่า ผู้ทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอมมีอำนาจในการทำการอย่าด้วยหรือไม่..?
  • ฝ่ายแรกเห็นว่า ผู้ทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอมพวกเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะทำการอย่าเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ดังกล่าวเป็นทัศนะของอิมามอบูฮะนีฟะฮ์ อิมามชาฟีอีย์และส่วนใหญ่จากมัซฮับฮัมบาลี ไม่ว่าจะยินยอมจากฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงในกรณีซื้ออย่า.
  • ฝ่ายที่ 2 เห็นว่า ผู้ทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอมสามารถดำเนินการอย่าได้ หากพวกเขาเห็นว่าควรทำการหย่าโดยไม่มีค่าชดเชยหรือค่าชดเชยที่ผู้หญิงมอบให้ ดังกล่าวเป็นทัศนะของท่านอิบนิอับบาส ท่านอะลี ท่านอุษมาน อิมามมาลิก อิบนิตัยมียะฮ์ และส่วนใหญ่จากบรรดาซอฮาบะฮ์.
  • ประเด็นที่ควรทราบในประเทศไทย

         ในปัจจุบัน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเริ่มมีบทบาทโดยตรงกับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิดตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มาตรา 39 (7) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีอำนาจหน้าที่ ในการประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสับบุรุษประจำมัสยิดเมื่อได้รับการร้องขอ และในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มาตรา 26(11) บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามเมื่อได้รับการร้องขอ และ (3)  บัญญัติ ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ประนีประนอมหรือชี้ขาดคำร้องทุกข์ของสัปปุรุษประจำมัสยิด ซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด


[1] บันทึกโดย   อัลมุน ซิรีย์ หมายเลขหะดีษ 4259, อัลอัลบานีย์ หมายเลขหะดีษ 2639)

อ.มุบาร็อก  แดงโกเมน

ตอนที่ 9 เรื่อง : การอย่าร้าง (الطلاق) (ตอนที่ 1)

                  เป้าหมายของการแต่งงานคือการดำรงไว้ซึ่งชีวิตคู่ระหว่างสามีภรรยา ผ่านระเบียบข้อกำหนดต่างๆของอัลลอฮ์ เพื่อให้ความรักดำรงอยู่อย่างมั่นคงและเป็นปึกแผ่น กระชับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่ครอง แต่บางครั้งสิทธิ กฎระเบียบและหน้าที่ที่แต่ละฝ่ายที่พึงได้รับนั้นไม่ได้รับการเอาใจใส่และนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจากคู่สามีภรรยาหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ไม่ให้ร่วมหลับนอน ไม่เชื่อฟังสามีในสิ่งที่ไม่ผิดต่อหลักการ สามีไม่จ่ายค่าเลี้ยงดู (นะฟะเกาะ)ให้ภรรยาและลูกๆ การไม่อ่อนโยนผ่อนปรนกันในบางกรณีและการช่วยเหลือเกื้อกูลเข้าอกเข้าใจกันจนไม่สามารถที่จะประนีประนอมหรือไกล่เกลี่ยในการที่จะทำให้การอยู่ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาเป็นปกติได้อีกต่อไป ดังนั้นอิสลามจึงกำหนดการอย่าเป็นหนทางเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยมีกฎเกณฑ์หลักการที่ทุกฝ่ายจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดอย่างเป็นรูปแบบเพื่อแก้ข้อผูกมัดหรือ   พันธะสัญญาที่เป็นสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่ครองโดยไม่ให้มีการกระทบสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและเพื่อป้องกันผลกระทบและสิ่งต่างๆที่ไม่ดีงามตามมา ดังนั้นการเรียนรู้และทำความเข้าใจหรือพูดคุยกันในประเด็นดังกล่าวให้เข้าใจทั้งสองฝ่ายตามแนวทางของอิสลามจึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ศรัทธา เพื่อให้อัลลอฮ์ทรงพอพระทัยดังที่พระองค์ตรัสในซูเราะฮ์อาละอิมรอน อายะฮ์ที่ 31 ว่า:

﴿ قُلۡ إِن كُنتُمۡ تُحِبُّونَ ٱللَّهَ فَٱتَّبِعُونِي يُحۡبِبۡكُمُ ٱللَّهُ وَيَغۡفِرۡ لَكُمۡ ذُنُوبَكُمۡۚ وَٱللَّهُ غَفُورٞ رَّحِيمٞ ﴾

         ความว่า : “จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านรักอัลลอฮ์ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮฺก็จะทรงรักพวกท่าน และจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านซึ่งโทษทั้งหลายของพวกท่าน และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”

  • การอย่าร้าง (الطلاق) นิยาม,ความหมาย

ตามหลักภาษาหมายถึง การแก้และหลุด ตัวอย่างเช่น ท่านได้ปล่อยเชลยเมื่อท่านได้แก้เครื่องพันธนาการออกจากตัวเขา

ตามหลักศาสนาหมายถึง การแก้ข้อผูกมัดหรือพันธะสัญญาของการแต่งงานออกโดยใช้สำนวนคำอย่า เช่น สามีกล่าวแก่ภรรยาว่า เธอถูกหย่า (أنت طالق) หรือฉันอย่าเธอ (طلقتك) เป็นต้น

  • หลักฐานที่อนุมัติให้มีการอย่าร้างได้

หลักฐานการบัญญัติเรื่องอย่าร้างเป็นบทบัญญัติที่มีหลักฐานตัวบทจากอัลกุรอาน ซุนนะฮ์และอิจมาอ์

  • หลักฐานจากอัลกุรอาน อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัฏเฏาะลาก อายะฮ์ที่ 1 ว่า

﴿ ياأ يهاٱلنَّبِىُّ إِذَا طَلَّقْتُمُ ٱلنِّسَآءَ فَطَلِّقُوهُنَّ لِعِدَّتِهِنَّ وَأَحْصُواْ ٱلْعِدَّةَ وَاتَّقُوا اللَّهَ رَبَّكُمْ لَا تُخْرِجُوهُنَّ مِن بُيُوتِهِنَّ وَلَا يَخْرُجْنَ إِلَّا أَن يَأْتِينَ بِفَاحِشَةٍ مُّبَيِّنَةٍ وَتِلْكَ حُدُودُ اللَّهِ وَمَن يَتَعَدَّ حُدُودَ اللَّهِ فَقَدْ ظَلَمَ نَفْسَهُ لَا تَدْرِي لَعَلَّ اللَّهَ يُحْدِثُ بَعْدَ ذَلِكَ أَمْرًا  ﴾

         ความว่า : “โอ้นะบีเอ๋ย เมื่อพวกเจ้าอย่าภริยาก็จงหย่าพวกนางตามกำหนด (อิดดะฮ์) ของพวกนางและจงนับกำหนดอิดดะฮฺให้ครบ พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์ พระเจ้าของพวกเจ้าเถิด อย่าขับไล่พวกนางออกจากบ้านของพวกนาง และพวกนางก็อย่าออกจากบ้าน เว้นแต่พวกนางจะกระทำลามกอย่างชัดแจ้ง และเหล่านี้คือข้อกำหนดของอัลลอฮ์ และผู้ใดละเมิดข้อกำหนดของอัลลอฮ์ แน่นอนเขาก็ได้อธรรมแก่ตัวของเขาเอง เจ้าไม่รู้ดอกว่าบางทีอัลลอฮ์จะทรงปรับปรุงกิจการ (ของเขา) หลังจากนั้น”

  • ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 229 ว่า

﴿ الطَّلاَقُ مَرَّتَانِ فَإِمْسَاكٌ بِمَعْرُوفٍ أَوْ تَسْرِيحٌ بِإِحْسَانٍ وَلاَ يَحِلُّ لَكُمْ أَن تَأْخُذُواْ مِمَّا آتَيْتُمُوهُنَّ شَيْئًا إِلاَّ أَن يَخَافَا أَلاَّ يُقِيمَا حُدُودَ اللّهِ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلاَّ يُقِيمَا حُدُودَ اللّهِ فَلاَ جُنَاحَ عَلَيْهِمَا فِيمَا افْتَدَتْ بِهِ تِلْكَ حُدُودُ اللّهِ فَلاَ تَعْتَدُوهَا وَمَن يَتَعَدَّ حُدُودَ اللّهِ فَأُوْلَـئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ ﴾

         ความว่า : “การหย่านั้นมีสองครั้ง แล้วให้มีการยับยั้งไว้โดยชอบธรรม หรือไม่ก็ปล่อยไปพร้อมด้วยการทำความดี และไม่อนุญาตแก่พวกเจ้าในการที่พวกเจ้าจะเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่พวกเจ้าได้ให้แก่พวกนาง (มะฮัร) นอกจากทั้งทั้งสองเกรงว่าจะไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮ์ได้เท่านั้น ถ้าหากพวกเจ้าเกรงว่า เขาทั้งสองจะไม่ดำรงไว้ซึ่งขอบเขตของอัลลอฮ์แล้วไซร้ ก็ไม่มีบาปใด ๆ แก่เขาทั้งสองในสิ่งที่นางใช้มันไถ่ตัวนาง เหล่านั้นแหละคือขอบเขตของอัลลอฮ์ พวกเจ้าจงอย่าละเมิดมัน และผู้ใดละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์แล้ว ชนเหล่านั้นแหละคือผู้ที่อธรรมแก่ตัวเอง”

  • หลักฐานจากซุนนะฮ์   

          รายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิ อุมัรhttp://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/ea/%D8%B1%D8%B6%D9%8A_%D8%A7%D9%84%D9%84%D9%87_%D8%B9%D9%86%D9%87.png รายงานว่า

((أنه طَلَّق امرأته وهي حائض، على عَهْد رسول الله -صلى الله عليه وسلم-، فسأل عمر بن الخطاب رسول الله -صلى الله عليه وسلم- عن ذلك، فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم: مُرْهُ فليُرَاجِعْهَا، ثم ليُمْسِكْهَا حتى تَطْهُر، ثم تحيض ثم تَطْهُر، ثم إن شاء أَمسَكَ بَعْدُ، وإن شاء طلق قَبْل أن يَمَسَّ، فتلك العِدَّةُ التي أمر الله أن تُطَلَّقَ لها النساء))

ความว่า : “เขาได้อย่าภรรยาของเขาขณะที่นางมีประจำเดือน ในสมัยท่านเราะซูล ต่อมาท่านอุมัรได้ไปถามท่านเราะซูลถึงเรื่องดังกล่าว ได้เราะซูลได้กล่าวว่า “ท่านจงใช้ให้เขากลับไปคืนดีกับนาง และอยู่กับนางก่อนจนนางหมดประจำเดือน แล้วมีประจำเดือนและหมดประจำเดือนอีกครั้ง หลังจากนั้นหากเขาต้องการอยู่กับนางต่อก็ได้หรือจะอย่านางก็ได้ก่อนที่เขาจะร่วมหลับนอนกับนาง ดังกล่าวคือช่วงเวลาที่ศาสนากำหนดให้นางกักตัว (อิดดะฮ์) ที่อัลลอฮ์ได้กำหนดให้ในการอย่ากับภรรยา”[1]

  • หลักฐานจากอิจมาอ์

บรรดาอุละมาฮ์เห็นตรงกันว่า การอย่าเป็นบทบัญญัติทางศาสนาโดยไม่มีข้อขัดแย้ง

  •  ข้อชี้ขาด ( หุก่ม ) ในเรื่องการหย่าร้าง

          อนุญาตให้หย่าได้เมื่อมีความจำเป็น เช่น ภรรยาไม่ให้สามีร่วมหลับนอน ไม่เชื่อฟังสามีในสิ่งที่ไม่ผิดต่อหลักการ สามีไม่จ่ายค่าเลี้ยงดู (นะฟะเกาะ)ให้ภรรยาและลูกๆ การไม่อ่อนโยนผ่อนปรนกันในบางกรณีและการช่วยเหลือเกื้อกูลเข้าอกเข้าใจกันภรรยามีนิสัยไม่ดีไม่งาม ถ้าอยู่ด้วยกันแล้วภรรยาจะได้รับอันตรายหรือภรรยามีความเกลียดชังสามี และพฤติกรรมอื่นๆในทำนองเดียวกันนี้

         การหย่าจะถูกนำมาใช้ก็แต่ในยามที่จำเป็นและเป็นหนทางสุดท้ายเท่านั้นคือ ในขณะที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบกพร่องในการยึดหลักประกันการไม่ปฏิบัติตามสิทธิหน้าที่ที่แต่ละฝ่ายพึงมีและพึงปฏิบัติระหว่างกัน

  •  สภาวะของการอย่าร้าง
  • สภาวะในสำนวนการหย่า

ในประเด็นนี้สามารถพิจารณาได้เป็นสองกรณีคือ พิจารณาความชัดเจน (صريح) และความคลุมเคลือ (كناية) จากถ้อยคำที่ใช้อย่า

  • แบบชัดเจน คือไม่สามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้นอกจากเป็นการหย่าเท่านั้นคือ الطلاق    السراح، الفراقเช่นสามีเก่าแก่ภรรยาว่าเธอถูกหย่า (أنت طالق) และฉันอย่าเธอ (طلقتك) ซึ่งทำให้การอย่ามีผล ซึ่งคำต่างๆเหล่านี้เป็นคำที่ชัดเจนในการหย่าเพราะเป็นคำที่ใช้มากในบัญญัติศาสนาและถูกกล่าวอย่างบ่อยครั้งในอัลกุรอาน
  • แบบคลุมเคลือ คือคำที่อาจใช้เป็นคำอย่าและอาจตีความเป็นความหมายอื่นด้วยก็ได้ คือไม่ชัดเจนและคลุมเครือ เช่นคำว่า เธอไม่มีฉันแล้ว,เธอพ้นจากฉันแล้ว,เธอกลับไปอยู่กับครอบครัวของเธอได้แล้ว เป็นต้น

ข้อควรทราบ…การหย่าโดยใช้คำที่ชัดเจนถือว่าการหย่านั้นมีผล โดยผู้กล่าวจะมีเจตนาหรือไม่มีเจตนาขณะกล่าวหรือไม่ก็ตามเพราะเป็นคำที่ชัดเจนและมีความหมายแน่ชัดว่าเป็นการหย่า จึงไม่ต้องอาศัยการตั้งเจตนาในขณะกล่าวคำนั้น……ส่วนคำที่คลุมเครือและไม่ชัดเจนแม้จะเป็นคำพูดติดปากของผู้คนว่าเป็นการคำหย่า เช่น เธอไม่ต้องมายุ่งกับฉันอีกแล้ว การอย่าถือว่ายังไม่เป็นผลนอกจากสามีจะต้องมีเจตนาว่าเป็นการหย่าขณะที่กล่าวคำดังกล่าว ดังนั้นในกรณีที่สามีไม่ได้ตั้งเจตนา การอย่าจึงยังไม่เป็นผล

  • การหย่าเกี่ยวเนื่องกับสภาวะของภรรยา

คือในกรณีที่ภรรยามีภาวะประจำเดือนหรือในภาวะที่ตัวสะอาดไม่มีประจำเดือน กรณีนี้แบ่งได้เป็นกรณีแบบซุนนีย์และบิดอีย์

  • แบบซุนนีย์ คือ การที่สามีหย่าภรรยาของเขาในภาวะที่ตัวนางสะอาดปราศจากประจำเดือนและปราศจากน้ำคาวปลาคือเลือดหลังคลอดบุตร โดยที่สามีไม่ได้เข้าใกล้นางในช่วงเวลาดังกล่าว   ซึ่งการหย่าในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติให้กระทำได้และมีผลต่อการอย่าตามมาซึ่งเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับหลักการศาสนา     
  • แบบบิดอีย์ คือ การหย่าที่ไม่ถูกหลักศาสนบัญญัติ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

กรณีแรก บิดอะฮ์ในเรื่องช่วงเวลา   อย่างเช่น   กล่าวคำหย่าขณะที่นางกำลังมีประจำเดือน หรือมีเลือดหลังคลอด หรือในช่วงที่นางสะอาดจากรอบเดือนแต่ได้มีเพศสัมพันธ์กับนางแล้วและยังไม่รู้ว่านางตั้งครรภ์หรือไม่  การหย่ารูปแบบนี้เป็นที่ต้องห้าม ( حرام ) และมีผลบังคับใช้ และผู้ที่กระทำถือว่ามีบาปและจำเป็นต้องกลับคืนดีกันถ้าหากการหย่านั้นยังไม่ใช่ครั้งที่สาม

กรณีที่สอง คือ  บิดอะฮ์ในเรื่องจำนวน  อย่างเช่น   การกล่าวคำหย่าสามครั้งด้วยถ้อยคำเดียวหรือการกล่าวคำหย่าสามครั้งด้วยถ้อยคำสามครั้งในสถานการณ์เดียว  เช่น กล่าวว่า เธอถูกหย่าแล้ว ,เธอถูกหย่าแล้ว,เธอถูกหย่าแล้ว ซึ่งการหย่ารูปแบบนี้เป็นที่ต้องห้ามแต่ก็มีผล ผู้ที่กระทำถือว่ามีบาป แต่การหย่าสามโดยใช้ถ้อยคำเดียว หรือใช้ถ้อยคำหย่าหลายครั้งขณะที่นางสะอาดจากรอบเดือนเดียวกัน ถือว่าได้หย่าเพียงครั้งเดียวพร้อมทั้งเป็นบาป

  • สภาวะการอย่าแบบล้อเล่น

การหย่าจะมีผลทั้งกับผู้ที่จริงจังและล้อเล่น โดยท่านเราะซูล  กล่าวว่า:

((ثلاث جِدُّهُنَّ جِدٌّ، وهَزْلُهُنَّ جِدٌّ: النكاح، والطلاق، والرَّجْعَةُ))

ความว่า “สามประการที่การจริงจังกับมันจะถือเป็นจริง และการล้อเล่นกับมันก็ถือเป็นจริง นั้นก็คือ การแต่งงาน การหย่าร้าง และการกลับมาคืนดีกัน” (อบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ )


[1] บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม  


อ่านบทความอื่นๆ

ดูตามหมวดหมู่

ดูตามคำค้น

รอมฏอน ละหมาด