ประจำวันเสาร์ที่ 8 พ.ย. 2567
บทเรียนวิชาฟิกฮ์ (หมวดอิบาดาต)
อาจารย์ดาวุด รอมาน
เรื่อง : เงื่อนไขของการละหมาด
- นิยามของคำว่า อัชชัรตุ (เงื่อนไข)
- หลักภาษา : เครื่องหมาย
- หลักศาสนา : เมื่อไม่มีเงื่อนไข สิ่งที่ถูกเป็นเงื่อนไขจะมีขึ้นมาไม่ได้ และไม่จำเป็นว่าเมื่อมีเงื่อนไขแล้ว สิ่งที่ถูกเป็นเงื่อนไขจะมีหรือไม่มีก็ได้
- เงื่อนไขที่ทำให้ละหมาดถูกต้อง
เงื่อนไขต่างๆของการละหมาดเป็นสิ่งที่จะทำให้การละหมาดถูกต้อง การละหมาดจะถูกต้องได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเหล่านั้น หากขาดเงื่อนไขใดหรือขาดหายบางส่วนไปการละหมาดจะใช้ไม่ได้ ดังต่อไปนี้:-
เงื่อนไขที่หนึ่ง: ต้องเข้าเวลาละหมาด
อัลลอฮ์กล่าว่า:
(( إِنَّ الصَّلَاةَ كَانَتْ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَوْقُوتًا )) [النساء:١٠٣]
ความว่า :((แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ))
หมายถึง : เป็นฟัรฎูตามเวลาที่ถูกกำหนดไว้ อัลลอฮ์กำหนดเวลาละหมาด หมายถึงอัลลอฮ์ได้เจาะจงกำหนดเวลาอย่างชัดเจน
บรรดาปราช์มุสลิมมีมติว่า : การละหมาดห้าเวลามีเวลาที่เฉพาะเจาะจงชัดเจนไม่อนุญาตให้ทำก่อนเวลาของมัน
ท่านอมีรุลมุมินีน อุมัรบินคอตต้อบ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า:
” الصَّلاةُ لها وَقْتٌ شَرَطَهُ اللَّهُ لها, لا تَصِحُّ إلا بهِ “
ความว่า :((การละหมาดมีเวลาของมัน โดยอัลลอฮ์กำหนดเป็นเงื่อนไข
ละหมาดจะใช้ไม่ได้นอกจากต้องตรงตามเวลา))
- หลักฐานที่ยืนยันว่าต้องทำละหมาดตามเวลา
การละหมาดจะเป็นวายิบเมื่อเข้าเวลาละหมาด เพราะคำกล่าว ของอัลลอฮ์ที่ว่า:
(( أَقِمِ الصَّلَاةَ لِدُلُوكِ الشَّمْسِ ))[الاسراء:٧٨ ]
((จงละหมาดเมื่อตะวันคล้อย))
บรรดานักปราชญ์มีมติว่าการละหมาดตอนต้นเวลามีความประเสริฐก็ด้วยกับอายะห์ดังกล่าวและด้วยกับคำกล่าวของอัลลอฮ์ที่ว่า:
(( فَاسْتَبِقُوا الْخَيْرَاتِ )) [البقرة:١٤٨]
((ดังนั้นพวกเจ้าจงแข่งขัยในความดีทั้งหลายเถิด ))
(( وَسَارِعُوا إِلَى مَغْفِرَةٍ مِنْ رَبِّكُمْ )) [آل عمران :١٣٣]
((และพวกเจ้าจงรีบเร่งกันไปสู่การอภัยโทษจากพระเจ้าของพวกเจ้า))
(( وَالسَّابِقُونَ السَّابِقُونَ أُولَئِكَ الْمُقَرَّبُونَ)) [الواقعة:١٠,١١ ]
((และกลุ่มแนวหน้า คือกลุ่มแนวหน้า เขาเหล่านั้น คือบรรดาผู้ใกล้ชิด ))
ในบันทึกหะดีษของซอฮีฮัยนิ(บุคอรีและมุสลิม)
أيُّ العَمَلِ أحَبُّ إلى اللَّهِ؟ قالَ: الصَّلاةُ علَى وقْتِها
ท่านรอซูลุลลอฮ์ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมถูกถามว่า : การงานอะไรอัลลอฮ์รักมาดที่สุด?
ท่านกล่าวว่า:การละหมาดในตอนต้นเวลาของมัน และอัลลอฮ์กล่าวว่า:
(( حَافِظُوا عَلَى الصَّلَوَاتِ)) [ البقرة:٢٣٨]
((พวกเจ้าจงรักษาบรรดาละหมาดเถิด ))
ส่วนหนึ่งจากการรักษาละหมาดคือการทำละหมาดตอนต้นเวลาห้าเวลาของละหมาดฟัรฎู
การละหมาดฟัรฎูมีห้าเวลาในหนึ่งวันกับหนึ่งคืน ทุกๆละหมาดมีเวลาที่เหมาะสมตามที่อัลลอฮ์ได้เลือกไว้ โดยเหมาะสมกับสภาพของบ่าวที่จะละหมาดในเวลาเหล่านั้น ไม่ได้ปิดกั้นพวกเขาไม่ให้ทำงานอื่น หนำซำ้ยังเป็นการช่วยพวกเขา ละหมาดยังลบล้างบาปที่พวกเขาได้ทำ ท่านนบีซอลลัลลอฮัอะลัยฮิวะซัลลัมได้เปรียบเทีบยละหมาดว่าเป็นเหมือนแม่นำ้ที่มีน้ำไหล ผู้คนจะอาบนำ้จากแม่นำ้นี้วันละห้าครั้งแล้วมันจะไม่มีสิ่งสกปรกติดอยู่อีกเลย ต่อไปนี้คือเวลาต่างๆของการละหมาด:-
1-ละหมาดซุห์ริ :เวลาของมันจะเริ่มต้นเมื่อดวงอาทิตย์คล้อย กล่าวคือ ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศตะวันตก นั่นคือการคล้อยของดวงอาทิตย์ที่อยู่ในคำของอัลลอฮ์ที่ว่า:
(( أَقِمِ الصَّلَاةَ لِدُلُوكِ الشَّمْسِ ))[الاسراء:٧٨ ]
((จงละหมาดเมื่อตะวันคล้อย))
จะรู้ว่าดวงอาทิตย์คล้อยเมื่อเงาของสิ่งหนึ่งไปอยู่ด้านทิศตะวันออกหลังจากที่มันอยู่ทางทิศตะวันตก และเวลาซุห์ริจะยาวไปถึงตอนที่เงาของสิ่งหนึ่งยาวเท่ากับตัวของมันเองถือว่าหมดเวลา ด้วยคำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮ์ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม:
[رواه مسلم] (( وقْتُ صلاةِ الظهرِ إذا زالتِ الشمسُ ، وكان ظِلُّ الرجلِ كطولِهِ ))
((เวลาซุห์ริเริ่มเมื่อดวงอาทิตย์คล้อยจนกระทั่งเงาของคนหนึ่งยาวเท่ากับตัวเขาเอง)
ชอบให้รีบละหมาดต้นเวลา นอกจากในช่วงที่ร้อนจัด ชอบให้ละหมาดล่าช้าจนกว่าความร้อนจะสลายไป ด้วยคำกล่าวของท่าน รอซูลลุลลอฮฺซอลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า :
(( إذا اشْتَدَّ الْحَرُّ فَأَبْرِدُوا بالصلاة فإن شدة الْحَرِّ من فَيْحِ جَهَنَّمَ))
((เมื่ออากาศร้อนจัดพวกท่านจงรอให้อากาศเย็นเสียก่อนแล้วละหมาด
เพราะอากาศที่ร้อนจัดมาจากนรกยะฮันนัม ))
2-การละหมาดอัสริ เริ่มตั้งแต่หมดเวลาซุห์ริ กล่าวคือตั้งแต่เงาของทุกสิ่งยาวเท่าตัวของมันและจะยาวไปจนถึงมีแสงเหลืองของดวงอาทิตย์ ตามความเห็นที่ถูกต้องของปราชญ์ มีซุนนะห์ให้รีบละหมาดตอนต้นเวลา คือละหมาดวุสฏอที่อัลลอฮ์มีตัวบทชี้ถึงความประเสริฐ อัลลอฮ์กล่าวว่า:
(( حَافِظُوا عَلَى الصَّلَوَاتِ وَالصَّلَاةِ الْوُسْطَىٰ وَقُومُوا لِلَّهِ قَانِتِينَ)) [ البقرة:٢٣٨]
((พวกเจ้าจงรักษาบรรดาละหมาดไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง))
มีหะดีษห์ยืนยันว่าหมายถึง ละหมาดอัสริ
3-ละหมาดมักริบ เวลาจะเริ่มเมื่อดวงอาทิตย์ตก หมายถึงดวงอาทิตย์ทั้งดวงลับไปโดยที่มองไม่เห็นอะไรเลยไม่ว่ามองจากที่ราบหรือบนเขา และการลับฟ้าของดวงอาทิตย์จะรู้ได้อีกจากการที่มีความมืดเข้ามาทางทิศตะวันออก ด้วยคำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮิซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า:
(( إِذَا أقْبَلَ اللَّيْلُ مِن هَا هُنَا، وأَدْبَرَ النَّهَارُ مِن هَا هُنَا، فقَدْ أفْطَرَ الصَّائِمُ))
((เมื่อกลางคืนเข้ามาทางนี้ และกลางวันออกไปทางนี้แน่นอนผู้ถือศีลอดจะได้ละศีลอด))
เวลามักริบจะยืดไปจนหมดแสงแดง แสงแดงเป็นแสงขางปนแดงเมื่อแสงแดงหมดไปจะเหลือแสงขาวต่อมาก็จะหมดไป การหมดของแสงขาวบ่งชี้ถึงการหมดของแสงแดง
มีซุนนะห์ให้รีบละหมาดมักริบตอนต้นเวลา เพราะว่ามีในบันทึกของอิหม่ามติรมิซีเป็นหะดีษซอฮีห์รายงานจากท่านซะละมะห์ว่า : ท่านนบีซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมละหมาดมักริบเมื่อดวงอาทิตย์ตกและลับหายไป เป็นคำกล่าวของนักปราชญ์จากซอฮาบะห์และหลังจากนั้น
4-ละหมาดอิชาอ์ เวลาจะเริ่มเมื่อหมดเวลามักริบ หมายถึงเมื่อหมดแสงแดงไปจนกระทั่งแสงอรุณที่สองปรากฎขึ้น แบ่งเป็นสองประเภท:-
1-เวลาที่ควรเลือกจะยืดไปถึงช่วงหนึ่งส่วนสามของคืน
2-เวลาที่คับขันคือตั้งแต่หนึ่งส่วนสามของคืนจนแสงอรุณขึ้น
การละหมาดให้ล่าช้าจนถึงท้ายเวลาที่ควรเลือกคือหนึ่งส่วนสามของคืนเป็นที่ประเสริฐเมื่อมีความสะดวก หากเป็นเรื่องยากลำบากกับมะมูมที่ชอบให้ทำคือรีบละหมาดในตอนต้นเวลาเพื่อขจัดความยากลำบาก
- เป็มมักรูห์ (น่าเกลียด) ที่จะนอนก่อนละหมาดอิชาอ์ เพื่อไม่ให้พลาดจากการละหมาด
- เป็นมักรูห์ในการพูดคุยหลังละหมาดอิชาอ์ คือการพูดคุยกันมันจะทำให้นอนล่าช้าและตื่นนอนสาย ดังจึงต้องนอนทันทีหลังละหมาดอิชาอ์เพื่อจะได้ตื่นขึ้นมาตอนดึกและละหมาดตะฮัดยุดได้และละหมาดซุบฮิด้วยความ กระปี้กระเป่า เพราะท่านนบีซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมรังเกียจการนอนก่อนละหมาดอิชาอ์และพูดคุยหลังละหมาดอิชาอ์ เมื่อการอดนอนหลังละหมาดอิชาอ์ไม่มีประโยชน์ แต่หากว่ามีเป้าหมายที่ถูกต้องและมีความต้องการที่มีประโยชน์อย่างนี้ไปเป็นไร
5-เวลาซุบฮิ เวลาจะเริ่มตั้งแต่แสงอรุณที่สองปรากฎขึ้นและจะยาวเรื่ยไปจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น ชอบให้รีบละหมาดเมื่อแสงอรุณขึ้นอย่างชัดเจน
นี่เป็นเวลาต่างๆของละหมาดห้าเวลาที่อัลลอฮ์กำหนดเป็นฟัรฎูจำเป็นต้องเจาะจงโดยต้องไม่ละหมาดก่อนเวลาและต้องไม่ล่าช้าจนหมดเวลา อัลลอฮ์กล่าวว่า:
(( فَوَيْلٌ لِلْمُصَلِّينَ الَّذِينَ هُمْ عَنْ صَلَاتِهِمْ سَاهُونَ ))
(( ความหายนะมีแด่บรรดาผู้ละหมาดที่พวกเขาเผลอเรอจากกากละหมาด))
หมายถึง : พวกเขาละหมาดล่าช้าในเวลาของมัน และอัลลอฮ์กล่าวว่า:
(( فَخَلَفَ مِنْ بَعْدِهِمْ خلفٌ أَضَاعُوا الصَّلَاةَ وَاتَّبَعُوا الشَّهَوَاتِ فَسَوْفَ يَلْقَوْنَ غَيًّا إِلَّا مَنْ تَابَ ))
(( ภายหลังจากพวกเขา ชนรุ่นชั่วก็ได้สืบต่อมา พวกเขาได้ทิ้งละหมาด และปฏิบัติตามความใคร่ ต่อมาพวกเขาก็จะประสบความหายนะ)) ความหมายของคำว่า “ทำให้ละหมาดสูญหาย”คือล่าช้าในการละหมาดตามเวลาของมัน ผู้ที่ละหมาดล่าช้าอัลลอฮ์เรียกคนพวกนี้เป็นผู้เผลอเรอและทำให้ละหมาดเสียหาย โดยคาดโทษไว้ด้วยความหายนะและอัลฆอย คือขุมหนึ่งในนรกยะฮันนัม
ผู้ใดลืมละหมาดหรือนอนหลับก็จงละหมาดเมื่อนึกขึ้นได้ ไม่อะไรทดแทนได้นอกจาละหมาด จึงเป็นวายิบที่จะต้องรีบเร่งชดใช้ละหมาดที่ขาดไปทันที ไม่ต้องรอให้เข้าเวลาที่เหมือนกับเวลาที่ขาดไปตามความเข้าใจของบางคน และต้องไม่ล่าช้าจนหมดเวลาที่ต้องห้ามแต่ว่าให้ละหมาดในขณะนั้นเลย
- ที่มา : จากหนังสืออัลมุลัคคอส อัลฟิกฮี ของ เชคซอลิฮ์ อัลเฟาซาน