การออกไปเพื่อทำงานหรือไปเรียนของสตรีที่อยู่ในช่วงครองตน (อิดดะฮ์) ที่สามีเสียชีวิต

หมวดหมู่ : ,

·

·

บทเรียนวิชาการอิสลาม ศูนย์อิสลามศึกษามัสยิดดาริสสลาม
ประจำวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2567
วิชา: (قضايا فقهية المعاصرة)

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางนิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) ร่วมสมัย

อ.มุบาร็อก  แดงโกเมน

🌸 ประเด็นที่ 7 🌸

เรื่อง: การออกไปเพื่อทำงานหรือไปเรียนของสตรีที่อยู่ในช่วงครองตน (อิดดะฮ์) ที่สามีเสียชีวิต

🌸 หัวข้อที่เกี่ยวข้อง:

  1. การออกไปเพื่อทำงานหรือเพื่อการศึกษา
  2. การออกไปเพื่อทำงานหารายได้

🌸 ประเด็นของปัญหานี้:  ถ้าสตรีที่ยังอยู่ในช่วงครองตน (อิดดะฮ์) จากการเสียชีวิตของสามีมีความจำเป็นต้องการออกไปทำงานหรือเรียน จะสามารถทำได้หรือไม่…?

  • ในประเด็นดังกล่าวนี้นักวิชาการมีความเห็นดังนี้:

         สตรีที่ยังอยู่ในช่วงครองตน (อิดดะฮ์) จากการเสียชีวิตของสามีหากมีความจำเป็นต้องการออกไปทำงานหรือเรียนเป็นสิ่งที่อนุญาตได้ โดยมีคำวินิจฉัยของนักวิชาการร่วมสมัยหลายท่านที่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยนี้ โดยหลักฐานที่ใช้ในการอนุญาตมีดังนี้:

  • หลักฐานที่ 1
  • أنَّ الفُرَيعةَ بنتَ مالكِ بنِ سِنانٍ، وهي أختُ أبي سعيدٍ الخُدْريِّ “جاءَتْ إلى رَسولِ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم تَسألُه أن تَرجِعَ إلى أهلِها في بَني خُدْرةَ؛ فإنَّ زوجَها خرَج في طلَبِ أعبُدٍ له أبَقُوا”، حتَّى إذا كانوا بطرَفِ القَدُّومِ لَحِقَهم فقَتلُوه”، فقالتْ: “فسألتُ النَّبيَّ صلَّى الله عليه وسلَّم أن أرجِعَ إلى أهلي”، ثمَّ قالَت: “فإنِّي لم يَترُكْني في مَسكَنٍ يَملِكُه ولا نفَقةٍ”، “قالت”، : “فقال رسولُ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: “نعَم”، قالَت: “فخرَجتُ حتَّى إذا كنتُ في الحُجرةِ أو في المسجدِ دَعاني”، ناداني صلَّى اللهُ عليه وسلَّم، “أو أمَر بي فدُعيتُ له” “فقال: “كيف قُلتِ؟”،  “فردَدتُ عليه القِصَّةَ التي ذكَرتُ مِن شأنِ زوجي فقالت: “فقال النَّبيُّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم: “امكُثي في بيتِك الَّذي كنتِ فيه حتَّى يَبلُغَ الكتابُ أجَلَه”، صحيح أبي داود

ความว่า: ฟุรอยอะฮ์ บินติ มาลิก บิน ซีนาน น้องสาวท่านอบีสะอี๊ด อัลคุดรีย์ : เธอได้ไปหาท่านบีและถามท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ว่าเธอสามารถกลับไปหาครอบครัวของเธอได้หรือไม่ที่เผ่าคุดเราะฮ์ หลังจากสามีของเธอถูกฆ่าตายขณะที่ออกไปตามหาทาสที่หนีไป ฉันจึงถามท่านนบีว่าฉันจะกลับไปหาครอบครัวของฉันได้ไหม เนื่องจากเขาไม่ได้ทิ้งฉันบ้านที่เขาเป็นเจ้าของและทิ้งค่าใช้จ่ายใดๆใว้เลย เธอกล่าวว่า “แล้วท่านนบีก็กล่าวว่า: “ได้” เธอกล่าวว่า: “ฉันก็เลยออกไปหาครอบครัว จนฉันไปพักอยู่ในห้องหรือที่มัสยิด ท่านนบีได้เรียกฉันโดยให้คนมาตามไปหาท่าน ท่านนบีกล่าวแก่ฉันว่า “เธอพูดว่าอย่างไรนะ..?”ฉันจึงเล่าเรื่องสามีของนางให้ท่านนบีฟังอีกครั้งหนึ่ง ท่านนบีจึงได้กล่าวแก่ฉันว่า “จงอยู่ในบ้านของเธอจนกว่าคำสั่งของอัลลอฮ์จะสมบูรณ์”(คือครอบกำหนดอิดดะฮ์) บันทึกโดยอิมามอบูดาวุด ติรมีซีย์ นะซาอีย์

  • หลักฐานดังกล่าวนี้ชี้ให้เห้นว่าท่านนบีไม่ได้ตำหนินางเมื่อนางออกมาถามปัญหากับท่านนบี
  • หลักฐานที่ 2

         รายงานโดยท่านมุญาฮิตว่า โดยท่านกล่าวว่า: “ผู้ชายหลายคนได้เสียชีวิตในสงครามวันอุฮุด และภรรยาของพวกเขาได้มาหาท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) และบอกว่า พวกเรารู้สึกกลัวในตอนกลางคืน เราจะนอนที่บ้านของกันและกันจนถึงตอนเช้าได้ไหม..?” ท่านนบีตอบว่า “พวกเธอสามารถพูดคุยกันที่บ้านของใครก็ได้จนถึงเวลานอน จากนั้นให้แต่ละคนกลับไปที่บ้านของตัวเอง” บันทึกในสุนันอัลบัยฮะกีย์ เล่ม 7หน้า 436

         ร่องรอยการปฏิบัติของบรรดาซอฮาบะฮ์ที่บ่งชี้ถึงการอนุญาตให้สตรีที่ยังอยู่ในช่วงครองตน (อิดดะฮ์) จากการเสียชีวิตของสามีสามารถออกมาในตอนกลางวันได้ ดังที่มีสตรีจากเผ่าฮัมดานมาถามท่านอับดุลลอฮ์ อิบนิมัสอูด เมื่อได้รับข่าวการเสียชีวิตของสามี โดยพวกนางบอกว่า “พวกเรารู้สึกกลัว” ท่านอับดุลลาห์ อิบนุ มัสอูดตอบว่า “ให้พวกเธอรวมตัวกันในตอนกลางวัน จากนั้นให้แต่ละคนกลับไปที่บ้านของตัวเองในตอนกลางคืน” 


  • อ้างอิงจาก:
  • الموسوعة الميسرة في القضايا المعاصرة وزارة التعليم العالي جامعة  الإمام محمد بن سعود الاسلامية، مركز التميز البحثي في فقه القضايا المعاصرة.

                                             🌸 ประเด็นที่ 8 🌸

เรื่อง: การรับและพูดคุยทางโทรศัพท์สำหรับสตรีที่คลองตนอยู่ในระยะเวลา (อิดดะฮ์)

      📌ประเด็นที่เกี่ยวข้องและที่มาของปัญหา

  1. เป็นช่วงที่ต้องครองตนและใว้อาลัย
  2. สิ่งที่สตรีที่อยู่ในช่วงครองตน (อิดดะฮ์) ที่สามีเสียชีวิตควรหลีกเลี่ยง ได้มีรายงานจาก

         เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้หญิงที่สามีเสียชีวิตนั้นต้องอยู่ในการครองตน (อิดดะฮ์ )คือระยะเวลา 4 เดือน 10 วัน หรือจนกว่าจะคลอดบุตรหากตั้งครรภ์ และเธอยังมีหน้าที่ต้องอยู่ในบ้านของเธอและต้องแสดงตนด้วยความสำรวม ไม่ใส่เครื่องหอม สวมเสื้อผ้าสีสันฉูดฉาด หรือการออกห่างและหลีกเลี่ยงจากการตกแต่งร่างกายและปรุงแต่งวาจาต่อผู้อื่นด้วย

       🌀ข้อชี้ขาดในประเด็นปัญหาและหลักฐานในประเด็นนี้.

         หากเป็นผู้หญิงสาวหรือวัยรุ่นที่ยังคงเสี่ยงต่อการเกิดความไม่เหมาะสม (ฟิตนะ) การตอบโทรศัพท์จากผู้ชายถือว่าไม่เหมาะสม และฝ่ายชายก็ไม่ควรเริ่มที่จะแสดงความเสียใจต่อฝ่ายหญิงหรือฝ่ายหญิงตอบกลับการแสดงความเสียใจจากฝ่ายชายด้วย แต่ถ้าไม่มีความเสี่ยงใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดฟิตนะฮ์ การแสดงความเสียใจหรือการตอบโทรศัพท์จากผู้ชายก็ไม่มีข้อห้ามใด ๆ

         สำหรับการสนทนากับผู้ชายที่ไม่ใช่ญาติผ่านทางโทรศัพท์หรือช่องทางอื่น ๆ เธอจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบทางศาสนา เช่น การหลีกเลี่ยงการพูดจาที่อาจทำให้เกิดความสงสัย เช่น เกี้ยวพาราสี แสดงเจตจำนงค์ว่าต้องการให้มาขอหรืออื่นๆที่ผิดต่อหลักการศาสนา และต้องจำกัดการสนทนาเฉพาะในเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น

  • เชคอับดุลอะซีซ บิน บาซ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์):กล่าวว่า “เธอสามารถพูดคุยกับใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นญาติหรือคนอื่น ๆ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด.

  • อ้างอิงจาก:
  • الموسوعة الميسرة في القضايا المعاصرة وزارة التعليم العالي جامعة  الإمام محمد بن سعود الاسلامية، مركز التميز البحثي في فقه القضايا المعاصرة.

*  รายละเอียดและประเด็นอื่นๆ ต่อครั้งหน้า…….อินชาอัลลอฮ์


อ่านบทความอื่นๆ

ดูตามหมวดหมู่

ดูตามคำค้น

รอมฏอน ละหมาด