ฮุก่มการอะซานและอิกอมะห์

หมวดหมู่ : ,

·

·

บทเรียนวิชาการอิสลามศูนย์อิสลามศึกษามสัยิดดารสิสลาม
ประจําวันเสาร์ที่14 ก.ย2567 บทเรียนวิชาฟิกฮ์ (หมวดอิบาดาต)
เรื่อง:ฮุก่มการอะซานและอิกอมะห์

อาจารย์ดาวุด รอมาน

เมื่อการละหมาดห้าเวลามีกําหนดเวลาท่ีแน่นอน จึงไม่อนุญาตให้ทําก่อนเข้าเวลา คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า เข้าเวลาละหมาดหรือบางทียุ่งอยู่ไม่ได้ระวังว่าเข้าเวลาละหมาด อัลลอฮ์จึงบัญญัติการอะซานเพ่ือ ละหมาดบอกถึงการเข้าเวลาละหมาด

การอะซานถูกบัญญัติข้ึนมาในปีที่หน่ึงของการอพยพของท่านนบี โดยเหตุท่ีมีบัญญัติน้ีข้ึนมาก็ เพราะว่าเป็นความยากลําบากท่ีจะรู้เรื่องเวลาละหมาด พวกเขาจึงปรึกษาหารือกันถึงเครื่องหมาย

ท่านอับดุลลอฮ์บินเซดฝันเห็นการอะซานและก็ได้มีวะฮีมายืนยันการอะซาน อัลลอฮ์กล่าวว่า:

َي ا أ َ ُّي َه ا ا ل َ هذ ي َنَ آ َم ن ُ و ا هإ ذ َ ا ن ُ و هد َيَ هل ل َص َلَ هةَ هم ْنَ َي ْو همَ ا ْل ُج ُم َع هةَ ف َ ا ْس َع ْو ا هإ ل َ ى هذ ْك هرَ َ هاللَّ َو ذ َ ُر و ا ا ْل َب ْي َعَ

(( โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทําละหมาดในวันศุกร์ก็จงรีบเร่งไปสู่ การรําลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละท้ิงการค้าขายเถิด ))

َو هإذَا نَا َد ْيتُ ْمَ هإلَى ال َص َلَ هةَ

((และเมื่อพวกท่านถกูเรียก(อะซาน)สกู่ารละหมาด))

• อะซานและอิกอมะห์

อะซานและอิกอมะห์เป็นถ้อยคําต่างๆท่ีเป็นคําซิเกรเฉพาะ เป็นคําท่ีรวมไว้ด้วยหลักเช่ือมั่น ศรัทธา เร่ิมต้นด้วยการตักบีรเป็นการเทิดเกียรติอัลลอฮ์ ต่อมาเป็นการยืนยันว่าอัลลอฮ์ทรงเอกกะ และ ยืนยันการเป็นรอซูลของท่านนบีมุฮัมมัดซอลลัลลอฮัอะลัยฮิวะซัลลัมด้วยสองคําปฏิญาณตน ต่อมาเป็นคํา เชิญให้มาละหมาดซึ่งเป็นเสาหลักศาสนา ต่อมาเชิญชวนสู่ชัยชนะน่ันคือชัยชนะ การคงอยู่ใน ความสุข ต่อมาปิดท้ายด้วยการตักบีรและคําตะห์ลีลท่ีถือเป็นถ้อยคําซิเกรที่ประเสริฐท่ีสุดและสูงส่ง ท่ีสุด เม่ือนําคําดังกล่าวไปชั่งกับฟ้าท้ังเจ็ดชั้น แผ่นดินท้ังเจ็ดและสรรพสิ่งทั้งหมดนอกจาก อัลลอฮ์ แน่นอนว่ามีนํา้หนักมากว่าเพราะความสําคัญและความประเสริฐของคํานี้

• ความประเสริฐของการอะซาน

มีหะดีษที่มากล่าวถึงความประเสริฐของการอะซานและผู้อะซานว่าจะมีคอที่ยาวในวันกิยามะห์

• ฮุก่มการอะซานและอิกอมะห์

การอะซานและอิกอมะห์เป็นฟัรฎูกิฟายะห์ ฟัรฎูกิฟายะห์หมายถึงสิ่งที่จําเป็นแก่มุสลิมทั้งหมดต้อง กระทํามัน เมื่อมีผู้หนึ่งผู้ใดทําแล้วถือว่าพอเพียงแล้วบาปก็จะตกไปจากคนที่เหลือ

อะซานและอิกอมะห์เป็นเอกลักณ์ของอิสลามที่ชัดเจน เป็นบัญญัติแก่บรรดาผู้ชายที่อยู่กับที่และ เดินทางสําหรับละหมาดห้าเวลา ชาวเมืองที่ละทิ้งทั้งสองอย่างจะต้องถูกลงโทษ เพราะทั้งสองสิ่งเป็น เอกลักษณ์ของอิสลามไม่อนุญาตให้ละทิ้ง

• ข้อควรปฏิบัติในการอะซาน

วิธีการที่ควรปฏิบัติสําหรับผู้อะซาน:-

• ต้องเสียงดังเพราะเป็นการประกาศ •ต้องซื่อตรงเพราะว่าเขาเป็นผู้ถูกไว้ใจในการอะซานเมื่อเข้าเวลาละหมาด เริ่มการถือศีลอดและละศีลอด •ต้องรู้เวลาเพื่อจะได้อะซานตอนต้นเวลา
ประโยคของอะซาน •อะซานมีสิบห้าประโยคดังเช่นที่ท่านบิล้าลใช้อะซานตอนที่ท่านนบีซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมอยู่ด้วย

اللهَُأكَبُر،اللهَُأكَبُر،اللهَُأكَبُر،اللهَُأكَبُر،أش َهُدَأ ْنَلّإلهََإَلَّ ُالله،أش َهُدَأ ْنَلّإلهََإَلَّاللهُ،أش َهُدَأ َنَ مح َم ًدارسو ُلَ هالله،أش َه ُدَأ َنَمح َم ًدارسو ُلَ هالله، َح َيَعلىالصلَ هة، َح َيَعلىالصلَ هة، َح َيَعلى الفلَ هح، َح َيَعلىالفلَ هح،اللهَُأكَبُر،اللهَُأكَبُر،لّإلَهَإَلَّ ُاللهَ

• ชอบให้ช้าในการกล่าวถ้อยคําอะซานโดยไม่ลากยาวจนเกินไป ให้หยุดในทุกๆประโยคอะ ซาน ชอบให้หันหน้าไปทางกิบละห์ขณะอาซาน ให้เอานิ้วอุดสองหูเพราะจะทําให้เสียงดัง ให้หัน ทางขวาเมื่อกล่าวว่า:ฮัยยะอะลัซซอลาฮ์ และหันทางซ้ายเมื่อกล่าว:ฮัยยะอะลัลฟะลาฮ์ และให้ กล่าวหลังจากฮัยยะอะลัลฟะลาฮ์ ครั้งที่สองว่า :อัซซอลาตุ คอยรุมมินันเนาม์ สองครั้ง ในอะซาน ละหมาดฟัจริ เพราะคําสั่งของท่านนบีซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และเพราะว่าเป็นเวลาที่ผู้คน กําลังนอนกันอยู่

• ไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมถ้อยคําใดในการอะซานจะก่อนหรือหลังก็ตาม เพราะมันเป็นบิดอะห์ที่ เกิดขึ้นใหม่ ทุกสิ่งที่ถูกทํามาโดยไมใช่ถ้อยคําอะซานที่มาจากท่านรอซูลุลลอฮิซอลลัลลอฮุอะลัยฮิ วะซัลลัมมันคือบิดอะห์ที่ต้องห้าม เช่น การตัสบีห์ นะชีด ดุอาอ์ ซอลาหวาตท่านนบีด้วยเสียงดัง

ไม่ว่าจะก่อนและหลังอะซาน ทั้งหมดเป็นบิดอะห์ที่อุตริขึ้นใหม่ ห้ามทําและวายิบต้องต่อต้านผู้ที่ ทํามัน

• ประโยคของอิกอมะห์

การอิกอมะห์มีสิบเอ็ดประโยค

اللهَُأكَبُر،اللهَُأكَبُر،أشَهُُدَأْنَلّإلهََإَلَّ ُالله،ُأشَهُدَأَنَمحَمًدارسوُلَ َهالله،ََحَيَعلىالصلَهة، َحَيَعلى الفلَ هح،قدقا َم هتَالصلَة،قدقا َم هتَالصلَة،اللهَُأكَب ُر،اللهَُأكَب ُر،لّإلهَإلَّ ُاللهَ

• ให้กล่าวแบบเร็วๆเพื่อจบการแจ้งแก่ผู้มาละหมาดจึงไม่มีความจําเป็นต้องยืดยาว

• ชอบให้ผู้ทําหน้าที่อะซานทําการอกอมะห์ จะไม่อีกอมะห์นอกจากอิหม่ามจะอนุญาต เสียก่อน เพราะการอิกอมะห์เกี่ยวพันกับเวลาอันเหมาะสมตามการพิจาราณาของอิหม่าม ดังนั้น จึงยังไม่อิกอมะห์นอกจากอิหม่ามส่งสัญญาณ

• ไม่อนุญาตให้อะซานก่อนเข้าเวลาละหมาด เพราะอะซานเป็นบัญญัติเพื่อการบอกเข้าเวลา ละหมาดและมันจะไม่บรรลุเป้าหมายและเป็นการลวงคนที่เขาได้ยิน นอกจากการอะซาน ละหมาดฟัจริเท่านั้นอนุญาตให้อะซานก่อนเวลาซุบฮิ เพื่อให้ผู้คนเตรียมพร้อมเพื่อมาละหมาดฟัจ ริ แต่สมควรที่จะมีอะซานอีกครั้งหนึ่งเมื่อแสงอรุณขึ้นเพื่อบอกให้คนรู้ว่าเข้าเวลาละหมาดแล้ว และเป็นเวลาเริ่มต้นของการถือศีลอด

• มีซุนนะห์สําหรับผู้ที่ได้ยินอะซานให้ตอบรับอะซานเหมือนกับที่ผู้อะซานได้กล่าว ส่วนประโยค ที่ว่าฮัยยะ อะลัซอลาห์และฮัยย่า อะลัลฟ่าลาห์ ให้กล่าวรับว่า:ลาเฮาล่า ว่าลากูว่าต้า อิลลาบิล ลาห์

ต่อมาให้กล่าวรับหลังจากอาซานว่า:

اللَ ُهـ َمَ َر َبَ َه هذ هَ ال َدع َو هةَ التَا َم هة، َوال َصلَ هةَ القَائ َم هة، آ هتَ ُمـ َحـ َمدَاً ال َو هسيلَةََ َوالفَ هضيلَةَ، َوا ْب َعثْهَُ َمقَامَاً َمـ ْحـ ُمودَاً الَ هذي َو َع ْدتَـهَُ

คําอ่าน :อัลลอฮุมม่า รอบบ่าฮาซิดดะอ์ว่าติดตามมะห์ วัซซอลาติลกออิมะห์ อาติ มุฮัมม่าดิลว่าซี ละห์ วัลฟ่าดีละห์ วับอัซฮุ ม่ากอมัมมะห์มูด่าลิลล่าซี ว่าอัดตะห์

คําแปล:โอ้อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลของการเชิญชวนนี้ท่ีสมบูรณ์และการ ละหมาดที่ดํารงอยู่ ได้ โปรดทรงประทานฐานะอันสูงส่งและมี ความประเสริฐแด่ท่านนบีมุหัมมัด และได้โปรดทรงให้ท่านฟื้น ขึ้น ในวันกิยามะฮฺด้วยตําแหน่งที่ได้รับการสรรเสริญดังที่ พระองค์ได้ทรงสัญญาด้วยเถิด”

• ห้ามออกจากมัสยิดหลังจากอะซานโดยไม่มีเหตุจําเป็นหรือตั้งใจว่าจะกลับ และเมื่อผู้อะซาน เริ่มอะซานขณะที่คนน่ังอยู่ไม่สมควรลุกขึ้นยืน ให้เขาอดทนจนกว่าจะอะซานเสร็จจะได้ไม่ เหมือนกับชัยฏอน

• สมควรแก่มุสลิมเมื่อได้ยินอะซานให้เขามุ่งหน้าสู่มัสยิด ทิ้งการงานทุกอย่างทางโลก อัลลอฮ์ กล่าวว่า:

هف ي ب ُ ي ُ و تَ أ َ هذ َنَ َاللَّ ُ أ َ ْنَ ت ُ ْر ف َ َعَ َو ي ُ ْذ َك َرَ هف ي َه ا ا ْس ُم هَ ُ ُي َس هب ُحَ َل هَ ُ هف ي َه ا هب ا ْل غ ُ ُد هَو َو ا ْلْ َص ا هلَ هر َج ا لَ َلَّ ت ُ ْل ه ه ي ه ه ْمَ
ه ت َ ج ا َ ر ة َ َ و َ لّ َ َ ب ْ ي ع َ َ ع ْ ن َ ه ذ ْ ك ه ر َ َ هاللّ َ َ و ه إ ق َ ا ه م َ ا ل َص َ لَ ه ة َ َ و ه إ ي ت َ ا ه ء َ ا ل َ ز َ ك ا ه ة َ َ ي َ خ ا ف ُ و َ ن َ َ ي ْ و ً م ا ت َ ت َ ق َ َ ل ُ ب َ ه ف ي ه ه َ ا ْ ل ق ُ ل ُ و ُ ب َ َ و ا ْ لْ َ ْ ب َص ا ُ ر َ

النور ٣٦،٣٧

((ในบรรดาบ้าน (หมายถึงมัสยิด) อัลลอฮฺทรงอนุญาติให้เทิดพระเกียรติ และให้พระนามของพระองค์ ถูกรําลึกอยู่เสมอ เพื่อที่จะแซ่ซร้องสดุดีแด่พระองค์ในนั้น ทั้งในยามเช้าและยามพลบค่ํา บรรดาชาย ผู้ที่การค้าและการขายมิได้ทําให้พวกเขาหันห่างออกจากการรําลึกถึงอัลลอฮ์และการดํารง ละหมาด และการจ่ายซะกาต เพราะพวกเขากลัววันที่หัวใจและสายตาจะเหลือกลานในวันนั้น))

ที่มา:จากหนังสืออัลมุลัคคอส อัลฟิกฮี ของ เชคซอลิฮ์ อัลเฟาซาน


อ่านบทความอื่นๆ

ดูตามหมวดหมู่

ดูตามคำค้น

รอมฏอน ละหมาด