ฮุก่ม(ข้อบัญญัติ)ของการอาบน้ำ

หมวดหมู่ :

·

·

บทเรียนวิชาการอิสลาม ศูนย์อิสลามศึกษามัสยิดดาริสสลาม
ประจำวันเสาร์ที่ 27 ม.ค 2567
บทเรียนวิชาฟิกฮ์ (หมวดอิบาดาต)
อาจารย์ดาวุด  รอมาน

เรื่อง : ฮุก่ม(ข้อบัญญัติ)ของการอาบ้ำ

  ​ที่ผ่านท่านได้รู้ถึงข้อตัดสินต่างๆของการทำความสะอาดจากหะดัสเล็ก(การอาบน้ำละหมาด)และสิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด ท่านจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้จักเรื่องข้อตัดสินต่างๆของการทำความสะอาดจากหะดัสใหญ่ ที่เกิดจากญะนาบะห์(การมีเพศสัมพันธ์) มีเลือดประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตรที่เรียกว่าการทำความสะอาดนี้ว่า “อัลฆุสลุ” การอาบน้ำ

    การอาบน้ำคือ:การใช้น้ำให้ทั่วถึงทุกส่วนของร่างกายตามวิธีการที่เจาะจง จะมีคำอธิบายต่อไป

• หลักฐานยืนยัน

    หลักฐานที่ยืนยันว่าการอาบน้ำเป็นวายิบ คือคำกล่าวของอัลลอฮ์ที่ว่า :

((وَإِنْ كُنْتُمْ جُنُبًا فَاطَّهَّرُوا))

“หากว่าพวกท่านมียุนุบก็จงทำความสะอาดเถิด”

​กล่าวกันว่าการอาบน้ำเนื่องจากญะนาบะห์ (มีเพศสัมพันธ์)เป็นการปฏิบัติที่มีมาแต่ยุคยาฮิลียะห์ และเป็นหลักปฏิบัติที่ยังคงอยู่ของท่านนบีอิบรอฮีมอะลัยฮิซซอลาตุวัซซะลาม

• สาเหตุที่ทำให้วายิบต้องอาบน้ำ

เหตุที่ทำให้วายิบต้องอาบน้ำมีหกประการ เมื่อมีเหตุหนึ่งเหตุใดเกิดขึ้นมาจึงเป็นวายิบแก่มุสลิมจะต้องอาบน้ำ :

    ประการที่หนึ่ง : มีอสุจิเคลื่อนออกมาจากทางออกของมันทั้งชายและหญิง 

     • อสุจิจะเคลื่อนออกมาในสภาพที่ตื่นอยู่หรือนอนหลับ หากออกมาในสภาพตื่น มีเงื่อนไขว่าต้องถึงจุดกำหนัด  ซึ่งหากออกมาโดยไม่ถึงจุดกำหนัด ไม่วายิบต้องอาบน้ำ เช่น อสุจิออกมาด้วยเหตุของการเจ็บป่วยหรือไม่สามารถกั้นได้ และหากออกมาในขณะนอนหลับหรือที่เรียกกันว่าฝันเปียก วายิบต้องอาบน้ำทุกกรณี เพราะขาดการรู้สึกตัวและแม้ว่าจะไม่รู้สึกถึงจุดกำหนัดก็ตาม กล่าวคือ คนนอนหลับที่ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่ามีรอยน้ำอสุจิ วายิบต้องอาบน้ำ

    หากเขาหลับฝันไปโดยน้ำอสุจิไม่ได้เคลื่อนออกมา ไม่มีรอยน้ำอสุจิ ไม่วายิบต้องอาบน้ำ

    ประการที่สอง : การมีเพศสัมพันธ์

​ถึงแม้ว่าจะไม่หลั่งอสุจิออกมาก็ตาม เพราะหะดีษที่อิหม่ามมุสลิมและท่านอื่น ๆ บันทึกจากท่าน นบี ที่ว่า : 

(( إِذَا قَعَدَ بَيْن شُعَبهَا الْأَرْبَع , ثم مسَّ الختانُ الختانَ ; فقد وجبَ الغسلُ))

(( เมื่อเขาได้นั่งอยู่ระหว่างสี่สาขา(มือและขาทั้งสอง)ของนาง ต่อมาคิตานได้สัมผัสกัน 

แน่นอนการอาบน้ำเป็นวายิบแล้ว ))

​การอาบน้ำเป็นวายิบทั้งสองฝ่ายคือผู้ทำและผู้ถูกทำที่มีการสอดใส่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการหลั่งอสุจิออกมาก็ตาม เพราะหะดีษดังกล่าวและเป็นมติของบรรดานักวิชาการในเรื่องนี้

    ประการที่สาม : จากเหตุจำเป็นต้องอาบน้ำของปราชญ์กลุ่มหนึ่ง คือการเข้ารับอิสลาม  

  ​เมื่อคนต่างศาสนิกเข้ารับอิสลาม จำเป็นแแก่เขาต้องอาบน้ำ เพราะท่านนบี ใช้บางคนที่เข้ารับอิสลามให้อาบน้ำ  

    บรรดานักวิชาการส่วนมากเห็นว่า:การอาบน้ำของกาเฟรที่เข้ารับอิสลามเป็นที่ชอบให้กระทำ ไม่ได้เป็นวายิบ เพราะไม่มีการถ่ายทอดจากท่านนบีซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่าท่านใช้ให้ทุกคนที่เข้ารับอิสลามอาบน้ำ จึงคาดว่าคำสั่งนี้เป็นเรื่องที่ชอบให้กระทำเท่านั้น เป็นการประสานระหว่างหลักฐานต่างๆ วัลลอฮุอะลัม

    ประการที่สี่:จากเหตุที่วายิบต้องอาบน้ำคือ การตาย 

​วายิบต้องอาบน้ำให้แก่คนตายที่ไม่ได้ตายชะฮีดในสงคราม เพราะเขาไม่ต้องถูกอาบน้ำ รายละเอียดในเรื่องนี้จะมีในเรื่องอะห์กาม ญะนาอิส (ข้อตัดสินคนตาย) อินชาอัลลอฮ์ 

    ประการที่ห้าและหก : การมีเลือดประจำเดือนและหลังคลอดบุตร 

​ด้วยคำพูดของท่านนบี   ว่า: 

(( وإذا ذهبتْ حيضَتُكِ; فاغتسلِيْ وصَلِّيْ ))

(( เมื่อเลือดประจำเดือนของเธอหมดไป จงอาบน้ำและจงละหมาดเถิด))

​และคำของอัลลอฮ์ที่ว่า :  ((فَإِذَا تَطَهَّرْنَ )) ((และเมื่อเธอสะอาดแล้ว )) หมายถึง เลือดประจำเดือน พวกเธอจะสะอาดด้วยการอาบน้ำหลังจากหมดเลือดประจำเดือน 

วิธีการอาบน้ำอย่างสมบูรณ์

• ตั้งเจตนาด้วยหัวใจ

• ต่อมากล่าวบิสมิ้ลลาฮ์ ล้างมือทั้งสองข้างและล้างอวัยวะเพศ

• ต่อมาอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์

• ต่อมาอาบน้ำดศีรษะสามครั้ง จนถึงโคนเส้นผม

• รดนำให้ทั่วร่างกายโดยใช้มือถูเพื่อให้น้ำถึงทุกส่วน

• ผู้หญิงที่มีเลือดประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตรให้แก้มวยผมเพื่ออาบน้ำเนื่อจากหมดเลือดประจำเดือนและเลือดหลังคลอดบุตร ส่วนกรณีมีญะนาบะห์ไม่ต้องแก้มวยผมเพื่ออาบน้ำเพราะมันยากลำบากที่ต้องทำซ้ำ แต่ที่วายิบคือรดน้ำให้ถึงโคนผม

• วายิบ จำเป็นแก่ผู้อาบน้ำทั้งชายและหญิงต้องให้น้ำทั่วถึงทุกส่วนของร่างกาย โคนผม รอยพับ ใต้วงแขน รักแร้ สะดือ ข้อพับหัวเข่า หากสวมนาฬิกาหรือแหวนก็ให้ขยับเพื่อให้น้ำทั่วถึงผิวหนังที่อยู่ใต้นาฬิกาหรือแหวน

• เป็นสิ่งจำป็น (วายิบ) ที่ต้องให้ความสำคัญในการอาบน้ำอย่างสมบูรณ์ ต้องไม่มีส่วนใดของร่างกายที่น้ำไม่ทั่วถึง ท่านรอซูลุลลอ กล่าวว่า:

 رواه أبو داود والترمذي ((تَحْتَ كُلِّ شَعْرَةٍ جَنَابَةٌ فَاغْسِلُواالشَّعْرَ وَأَنْقوُا الْبَشَرَ))

((ทุกใต้เส้นขนมีญะนาบะห์ จงล้างผม จงทำความสะอาดผิวหนังเถิด )) บันทึกโดยอบูดาวูดและติรมิซี 

• ไม่สมควรที่รดน้ำอย่างฟุ่มเฟือย ตามบัญญัติศาสนาคือใช้น้ำให้น้อยโดยทำให้สมบูรณ์ เพราะท่านนบีอาบน้ำละหมาดโดยใช้น้ำหนึ่งมุด (ประมาณ1ลิตร) และอาบน้ำโดยใช้น้ำหนึ่งซออ์ (4ลิตร) จึงสมควรที่จะตามแบบอย่างของท่านนบีในการใช้น้ำให้น้อยโดยไม่ฟุ่มเฟือย

    วายิบแก่ผู้อาบน้ำจะต้องปกปิดร่างกาย ไม่อนุญาตให้เปลือยกายอาบน้ำต่อหน้าผู้คน ด้วยหะดีษที่ว่า:

رواه أبو داود والنسائي ((إن الله حَيِيٌّ يحبُ الحياءَ والسِّتْرَ , فإذا اغتسلَ أحدكم ; فلْيَسَتَتِرْ))

(( อัลลอฮ์ทรงละอาย ทรงรักความละอายและการปกปิด เมื่อคนหนึ่งคนใดในพวกท่านอาบน้ำจงปกปิดเถิด)) [บันทึกโดยอบูดาวูดและอันนะซาอี] 

    การอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เป็นหนึ่งในอะมานะห์(ความรับผิดชอบ)จากอะมานะห์ทั้งหลายระหว่างบ่าวกับพระผู้เป็นที่จำเป็นจะต้องรักษาไว้ และต้องให้ความสำคัญ เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ตรงตามหลักศาสนา   อันใดที่มีความสังสัยในฮุก่มต่างๆ เหตุที่วายิบต้องอาบน้ำให้ถามผู้รู้ โดยจะต้องไม่อายที่จะถาม เพราะอัลลอฮ์ไม่ละอายจากความจริง การอายจนไม่กล้าถามเรื่องศาสนาถือเป็นการอายที่น่าตำหนิ เป็นความขลาดที่มาจากชัยฏอน เพื่อให้เขาได้รับความสำเร็จ นจนเกิดความสมบูรณ์ของศาสนาและได้รู้จักข้อตัดสินต่างๆที่จำเป็นแก่เขา ด้วยเรื่องความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญ การละเลยเป็นเรื่องอันตราย เพราะจะส่งผลถึงความถูกต้องของการละหมาดอันเป็นเสาหลักศาสนาอิสลาม

    เราขอต่ออัลลอฮ์ให้เราและมุสลิมทั้งหมดมีความรู้ชัดเจนในเรื่องศาสนาและมีความอิคลาสต่อพระองค์ทั้งคำพูดและการกระทำ

อ้างอิงจากหนังสือ:อัลมุลัคค็อส อัลฟิกฮี /เชค ซอลิฮ์อัลเฟาซาน


อ่านบทความอื่นๆ

ดูตามหมวดหมู่

ดูตามคำค้น

รอมฏอน ละหมาด